Page 36 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาปีของศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
คุณสมบัติป้องกันและควบคุมการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชเศรษฐกิจ
หลายชนิด ได้แก่ โรครากและโคนเน่าของไม้ผลและไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน ส้ม และยางพารา โรคเน่าคอ
ดินและล าต้นเน่าของพืชไร่ เช่น อ้อย มันส าปะหลัง สับปะรด ข้าวโพด พืชเส้นใยและพืชตระกูลถั่วโรคเน่า
และเหี่ยวของพืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ เช่น พริก มะเขือเทศ แตง กะหล่ าปลี เบญจมาศ และมะลิ เป็น
ต้น ช่วยแปรสภาพแร่ธาตุในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเจริญได้ดีในดินที่มีอินทรียวัตถุสูงและมี
ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5
1.4.1) วัสดุและขั้นตอนการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมสาเหตุโรคพืช
(1) วัสดุ
- ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม
- ร าข้าว 1 กิโลกรัม
- สารเร่ง พด.3 จ านวน 1 ซอง
(2) ขั้นตอนการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมสาเหตุโรคพืช
- ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 และร าข้าวในน้ า 5 ลิตร
ผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
- รดสารละลายซุปเปอร์ พด.3 ลงในกองปุ๋ยหมัก
คลุกเคล้าให้เข้ากันและปรับความชื้นให้ได้ร้อยละ 60
- ตั้งกองปุ๋ยหมักในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีความสูง 50
เซนติเมตร กองปุ๋ยหมักให้อยู่ในที่ร่ม 7 วัน จึงน าใส่พื้นที่เพาะปลูกได้ สังเกตจากลักษณะสปอร์และเส้นใย
สีเขียวเจริญบนกองปุ๋ยหมัก
1.4.2) ผลการด าเนินงาน
ศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ต าบลคู้ยายหมี อ าเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทราได้ท าการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมสาเหตุโรคพืช
จากสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 เพื่อใช้ภายในศูนย์เรียนรู้และแจกจ่ายแก่เกษตรกรภายในพื้นที่ที่สนใจจ านวน
1,200 กิโลกรัม
3.1.3 เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินที่ด าเนินการในศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจ
พอเพียง ต าบลคู้ยายหมี อ าเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
1) ส ารวจวิเคราะห์ดิน
การส ารวจดิน คือ การส ารวจหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของดิน ตลอดจน
สภาพแวดล้อม โดยวิธีการทางสนาม และการวิเคราะห์ข้อมูลในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ทราบถึงความ
คล้ายคลึง และความแตกต่างของดินในแต่ละพื้นที่ แล้วน ามาบันทึกในรูปของแผนที่และรายงานซึ่งจะมี
รายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ขอบเขตและการแพร่กระจาย ลักษณะและสมบัติของดิน สภาพแวดล้อม
ของดิน และมีการแปลความหมายของข้อมูลเหล่านั้น เพื่อน าไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ เช่น ด้าน