Page 12 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6
2.2 สภาพภูมิอากาศ
2.2.1 ลักษณะภูมิอากาศ ในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว
หมู่ที่ 8 ต าบลห้วยมุ่น อ าเภอน้ าปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้น าลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดอุตรดิตถ์มา
พิจารณาใช้เป็นตัวแทนลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่โครงการฯ ซึ่งโดยภาพรวมมีสภาพอากาศร้อนชื้น
ช่วงฤดูฝน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดพาเอาความชื้นจากทะเลอันดามันและ
มหาสมุทรอินเดียมาในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ต่อจากนั้นอิทธิพลของลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนและไซบีเรียพัดผ่านท าให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง ในช่วงเดือน
พฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ สามารถแบ่งฤดูกาลได้ดังนี้ (ส านักงานจังหวัดอุตรดิตถ์, ม.ป.ป.)
1) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะหนาวเย็นและแห้งแล้ง โดยจะเริ่มเย็นลงตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม และ
เดือนมกราคมเป็นเดือนที่มีอากาศหนาวที่สุดของปี
2) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม จะมีอากาศร้อน
อบอ้าว โดยเฉพาะเดือนเมษายน จะมีอากาศร้อนจัดในรอบปี
3) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม จะเป็นฤดูมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทยอากาศจะชุ่มชื้นและมีฝนตกชุก โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมและ
กันยายน เป็นเดือนที่มีฝนตกมากที่สุดในรอบปี
จากการรวบรวมข้อมูลภูมิอากาศ จากสถานีตรวจวัดกรมอุตุนิยมวิทยาเฉลี่ย 10 ปี (พ.ศ.2549-
2559) ได้แก่ ข้อมูลอุณหภูมิสูงสุด–ต่ าสุดเฉลี่ยรายเดือน ค่าความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และความ
ยาวนานของแสงแดด เพื่อน ามาค านวณหาค่าการคายระเหยของพืชอ้างอิง (ETo) มีหน่วยเป็น
มิลลิเมตรต่อวัน และค่าปริมาณน้ าฝนรายเดือนมาค านวณค่าปริมาณน้ าฝนที่ใช้ได้จริง (Effective
rainfall) สรุปได้ว่า อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.9 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ย 20.5 องศา
เซลเซียส ค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 71.9 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดในเดือนสิงหาคม 81.4
เปอร์เซ็นต์ และต่ าสุดในเดือนมีนาคม 60.8 เปอร์เซ็นต์ ความเร็วลมเฉลี่ย 48.8 กิโลเมตรต่อวัน
ความเร็วลมสูงสุดในเดือนตุลาคม 101.3 กิโลเมตรต่อวัน และต่ าสุดในเดือนสิงหาคม 39.6 กิโลเมตร
ต่อวัน ความยาวนานแสงแดดเฉลี่ย 6.6 ชั่วโมง ยาวนานที่สุดในเดือนเมษายน 8.4 ชั่วโมง และต่ าสุด
ในเดือนสิงหาคม 4.5 ชั่วโมง ค่าการคายระเหยน้ าของพืชอ้างอิงเฉลี่ย 125.2 มิลลิเมตรต่อเดือน โดยที่
ช่วงเดือนเมษายนมีค่าศักย์การคายระเหยของพืช อ้างอิงสูงสุดประมาณ 158.8 มิลลิเมตรต่อเดือน
และเดือนธันวาคม มีค่าศักย์การคายระเหยของพืชอ้างอิงต่ าสุดประมาณ 101.9 มิลลิเมตรต่อเดือน
ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยสูงสุดเดือนสิงหาคมปริมาณ 290.8 มิลลิเมตร ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยต่ าสุดเดือน
ธันวาคมปริมาณ 2.8 มิลลิเมตร ปริมาณน้ าฝนรวมทั้งปี 1,502 มิลลิเมตร และจากการค านวณปริมาณ
น้ าฝนที่ใช้ได้จริง (Effective rainfall) มีปริมาณรวมทั้งปี 1010.3 มิลลิเมตร ซึ่งมีปริมาณน้ าฝนที่ใช้ได้
จริงมากที่สุดช่วงเดือนสิงหาคมปริมาณ 176.3 มิลลิเมตร และปริมาณน้อยที่สุดช่วงเดือนธันวาคม
ปริมาณ 2.6 มิลลิเมตร (ตารางที่ 1)