Page 7 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 7
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 1
บทน า
1.1 หลักการและเหตุผล
พื้นที่สูงของประเทศไทยมีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 96.1 ล้านไร่ ประกอบด้วย ภาคเหนือ 54
ล้านไร่ ภาคกลาง 12 ล้านไร่ ภาคใต้ 14.6 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12.1 ล้านไร่ และภาค
ตะวันออก 3.4 ล้านไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2542) พื้นที่ดังกล่าวจะเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ปกคลุม
ด้วยป่าไม้นานาชนิด โดยเฉพาะพื้นที่สูงในภาคเหนือ ส่วนใหญ่ถูกก าหนดให้เป็นชั้นคุณภาพลุ่มน้ าชั้นที่
หนึ่ง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ าของแม่น้ าสายส าคัญๆ หลายสาย เช่น แม่น้ าปิง แม่น้ าวัง แม่น้ ายม และแม่น้ า
น่าน ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ าเจ้าพระยา กลายเป็นแม่น้ าสายหลักที่ส าคัญของประเทศ ดังนั้น
ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีอิทธิพลต่อการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ให้อยู่ในสภาพที่ดีได้
พื้นที่ด าเนินการเป็นป่าเสื่อมโทรม โดยกองทัพภาคที่ 3 ได้อพยพคนที่ไม่มีที่ท ากินมาจาก
อ าเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และได้จัดสรรที่ท ากินรายละ 15 ไร่ 2 งาน เป็นที่อยู่อาศัย 2 งาน
พื้นที่ที่เหลือใช้เพาะปลูกเลี้ยงชีพ พื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง อยู่ในเขตป่าสงวน
แห่งชาติ เกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินท ากิน เกษตรกรท าการเกษตรในพื้นที่ภูเขาสูง โดยขาดการ
อนุรักษ์ดินและน้ า ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า หลังจาก
ทหารได้จัดสรรพื้นที่ท ากินและที่อยู่อาศัย เมื่อปี พ.ศ. 2535 ทางราชการได้ชี้แจงให้ชุมชนได้ทราบว่า
พื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่แนวชายแดนระหว่างไทยกับลาว ขอให้ชุมชนท ากินอย่างระมัดระวัง
และห้ามชาวบ้านบุกรุกพื้นที่ป่า หรือท าลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันให้
ชุมชนช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้คงทนและยั่งยืน ก าหนดขอบเขตพื้นที่ท ากินของ
เกษตรกรแต่ละรายพร้อมกับจับพิกัดพื้นที่ลงในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 และตกลงกับชุมชนว่าให้
ท ากินในพื้นที่ที่จัดสรรให้เท่านั้น ห้ามท าการบุกรุกเพิ่ม
ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ไม่มีต้นไม้ใหญ่ เกษตรกรปลูกข้าวไร่และข้าวโพด ท าให้เกิดปัญหา
การชะล้างพังทลาย หน้าดินสูญเสียไปกับน้ าไหลบ่า ผลผลิตต่ า รายได้ไม่พอกับการยังชีพ เกษตรกร
บางรายบุกรุกขยายที่ท ากินเพิ่ม จากการเพิ่มจ านวนประชากรและการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุ
ส าคัญที่ท าให้ระบบการผลิตบนพื้นที่สูงปรับเปลี่ยนเป็นเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น มีการใช้ที่ดินอย่าง
เข้มข้น ใช้พันธุ์พืชหลายชนิด รวมทั้งใช้สารเคมีในการผลิต ขณะเดียวกันการใช้ฐานทรัพยากร
การเกษตรในระบบการผลิตยังขาดการวางแผนที่ดี เช่น การเพาะปลูกบนพื้นที่ลาดชันโดยไม่มี
มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า จึงส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ท าให้สูญเสีย
ความสมดุล และความรุนแรงของปัญหาเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น สถานีพัฒนาที่ดินอุตรดิตถ์ จึงได้ด าเนินการส ารวจข้อมูลพื้นฐานและส่งเสริมงาน
พัฒนาที่ดินในพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ผลผลิตต่ า และดินมีความอุดมสมบูรณ์
ต่ า โดยร่วมกับกลุ่มส ารวจเพื่อท าแผนที่ และกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 8
จัดท าแผนที่ขอบเขตและส ารวจดินในพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ต าบลห้วยมุ่น อ าเภอน้ าปาด
จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยพิจารณาจากสภาพพื้นที่ ความต้องการของชุมชน และตามหลักเกณฑ์ของ