Page 17 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9
2.3 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ต าบลห้วยมุ่น
อ าเภอน้ าปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่เกือบราบจนถึงสูงชันมาก ความลาดเท
ของพื้นที่ตั้งแต่ 2 เปอร์เซ็นต์ จนถึงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยแบ่งลักษณะภูมิประเทศได้ ดังนี้
2.3.1 ลักษณะสูงชันมาก จะอยู่ทางตอนล่างของพื้นที่โครงการฯ และบริเวณขอบของพื้นที่
โครงการฯ ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความลาดชันสูงของภูลูกคราดกับภูสอยดาว ความ
ลาดเทของพื้นที่มีมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สภาพการใช้พื้นที่ยังเป็นป่าไม้สมบูรณ์
2.3.2 ลักษณะเป็นเนินเขาสูงชันมีการกระจายทั่วไปทั้งพื้นที่โครงการฯ ความลาดเทของ
พื้นที่มีตั้งแต่ 35–50 เปอร์เซ็นต์ สภาพการใช้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าถูกท าลาย เพื่อใช้ปลูกข้าวโพด
และบางแห่งที่ยังคงเป็นป่าสมบูรณ์อยู่
2.3.3 ลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนชันถึงเนินเขา มีอยู่ทั่วไปทั้งพื้นที่โครงการฯ อยู่ถัดจาก
บริเวณลูกคลื่นลอนลาด ความลาดเทประมาณ 8–35 เปอร์เซ็นต์ สภาพการใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ปลูก
ข้าวโพด ข้าวไร่ บางแห่งทิ้งไว้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า
2.3.4 ลักษณะเป็นที่เกือบราบจนถึงลูกคลื่นลอนลาด ส่วนใหญ่อยู่ใกล้กับบริเวณล าห้วย
สาขาต่างๆ และบริเวณตอนบนตั้งแต่ทิศตะวันตกขึ้นไปทางเหนือของพื้นที่โครงการฯ มีความลาดเท
ประมาณ 2–8 เปอร์เซ็นต์ สภาพทั่วไปใช้ในการปลูกข้าวโพด และข้าวไร่
2.4 ทรัพยากรดิน
สภาพธรณีวิทยาบริเวณบริเวณต าบลห้วยมุ่น อ าเภอน้ าปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ มีลักษณะทาง
ธรณีวิทยา อยู่ในหินหน่วยภูพาน และพระวิหาร (Tpp–pw = Phu Phan and Pha Wihan For
mation) ซึ่งเกิดยุคจูแรสสิค (Jurassic) หินหน่วยนี้จะประกอบด้วย หินทรายปนควอตไซด์
(quartzitic–sandstone) และหินทรายปนกรวด (conglomeration sandstore) ซึ่งมีสีเทาปน
เหลืองสีชมพูปนเทา และจะพบหินทรายสีแดงปนเทาสีเทาปนสีมะกอกหรือสีขาว และหินดินดานสี
น้ าตาลปนแดง และหินซิลท์สโตน (siltstone) สีแดงปนเทาแทรกอยู่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินต่างๆ (กลุ่ม
วางแผนการใช้ที่ดิน, 2559) ดังนี้ (ตารางภาคผนวกที่ 1 และ ภาพที่ 3)
2.4.1 กลุ่มชุดดินที่ 35 มีลักษณะเป็นดินลึกมาก ลักษณะเนื้อดินบนเป็นร่วนทรายหรือดิน
ร่วน สีน้ าตาลปนเทาหรือน้ าตาลปนเทาเข้มหรือน้ าตาลส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
หรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ าตาล สีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดจัดถึงกรดรุนแรงมาก
(pH 4.5-5.5) การระบายน้ าดี ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น
และยังคงสภาพเป็นป่า ได้แก่ ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพื้นที่ 14,541 ไร่
2.4.2 กลุ่มชุดดินที่ 40 มีลักษณะเป็นดินลึกถึงลึกมาก ลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย
หรือดินทรายปนดินร่วนตอนบน และเป็นดินร่วนปนทรายในดินชั้นล่าง สีน้ าตาลอ่อน สีเหลือง หรือสี
น้ าตาลปนแดง พบจุดประในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดรุนแรงมาก (pH 4.5-5.5)
ความอุดมสมบูรณ์โดยทั่วไปต่ า มีพื้นที่ 2,381.37 ไร่