Page 95 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 95

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                            3-39




                              (2)   ความต้องการด้านการจัดการ (management  requirement)  เป็นความต้องการที่เกษตรกร
                      ต้องการด้านเครื่องจักร เครื่องกล ที่ต้องใช้ในการเตรียมดิน การเขตกรรม ความต้องการด้านนี้

                      ประกอบด้วยคุณภาพที่ดินดังนี้ สภาวะการเขตกรรม และศักยภาพการใช้เครื่องจักร
                              (3)   ความต้องการด้านการอนุรักษ์ ( conservation  requirement)  เป็นความต้องการเพื่อให้

                      สามารถใช้ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ทําลายคุณภาพของที่ดิน หรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อันเนื่องมาจาก
                      การใช้ประโยชน์ที่ดินความต้องการด้านนี้ประกอบด้วยคุณภาพที่ดินเดียว คือ ความเสียหายจาก

                      การกัดกร่อน

                            3) การจําแนกชั้นความเหมาะสมของหน่วยที่ดิน ( landsuitability classification)
                              (1)   ชั้นความเหมาะสมของหน่วยที่ดินจําแนกออกเป็น 4 ชั้น (class) คือ

                                S1หมายถึงชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (highly suitable)
                                S2 หมายถึงชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง(moderately suitable)

                                S3 หมายถึงชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (marginally suitable)
                                N หมายถึงชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (not suitable)

                                นอกจากนี้ในแต่ละชั้นความเหมาะสม ยังแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (subclass)  ซึ่งเป็น
                      ข้อจํากัดของคุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลรุนแรงที่สุดต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช

                              (2)   การประเมินความเหมาะสมของหน่วยที่ดิน โดยการจับคู่ระหว่างความต้องการของ
                      ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินกับคุณภาพที่ดิน ซึ่งจะพิจารณาแต่ละคุณภาพที่ดินในหน่วยที่ดินนั้นๆ

                      ที่มีข้อจํากัดรุนแรงที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของพืช จะใช้ระดับความเหมาะสม
                      ของคุณภาพที่ดินนั้นเป็นตัวแทนความเหมาะสมรวมของหน่วยที่ดิน

                                จากข้อมูลคุณภาพที่ดินของหน่วยที่ดินจับคู่กับระดับความต้องการปัจจัยต่อ
                      การเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งนํามาพิจารณาในการประเมินความเหมาะสมทางกายภาพของข้าวมี 5 ปัจจัย

                      โดยเรียงลําดับความสําคัญ ได้แก่ สภาวะการหยั่งลึกของราก (r)   การมีเกลือมากเกินไป (x)
                      สารพิษ (z) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m) และความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n) ซึ่งขึ้นอยู่

                      กับความพร้อมของข้อมูล ความแตกต่างของภูมิภาค และระดับความรุนแรงของคุณลักษณะดินที่มีผล
                      ต่อผลผลิต ทั้งนี้ไม่ได้นําปัจจัยด้านความเสียหายจากการกัดกร่อน (e)  และศักยภาพการใช้เครื่องกล

                      (w)มาร่วมพิจารณา เนื่องจากข้อจํากัดได้ถูกแก้ไขโดยการทําคันนา ดังนั้น จึงได้เป็นความเหมาะสม
                      ของหน่วยที่ดินสําหรับข้าว จากนั้นนํามาวิเคราะห์เชิงพื้นที่ร่วมกับปริมาณนํ้าฝนและขอบเขต

                      ชลประทาน สามารถจําแนกพื้นที่ได้ดังนี้
                               - พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1)  ทั้งประเทศ มีเนื้อที่ 13,348,106  ไร่หรือร้อยละ

                      17.13 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งประเทศ โดยภาคกลางมีเนื้อที่ 6,341,630  ไร่หรือร้อยละ 47.51
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100