Page 94 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 94

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                            3-38




                               -  ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร ( nutrient retention capacity: n)  คุณลักษณะที่ดิน
                      ที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) และความอิ่มตัวด้วยประจุบวก ที่เป็นด่าง (BS)

                               -  สภาวะการหยั่งลึกของราก (rooting  condition:  r)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน
                      ได้แก่ ความลึกของดิน ความลึกของระดับนํ้าใต้ดิน และชั้นการหยั่งลึกของรากพืช(root penetration class)

                               -  ความเสียหายจากนํ้าท่วม (flood hazard: f)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่
                      จํานวนครั้งที่นํ้าท่วมในช่วงรอบปีที่กําหนดไว้

                               -  การมีเกลือมากเกินไป (excess  of  salts:  x)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่

                      ปริมาณเกลืออิสระที่สะสมมากเกินพอจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช
                               - สารพิษ ( soil toxicities: z)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ระดับความลึก

                      ของชั้น jarosite
                               -  สภาวะการเขตกรรม (soil  workability:  k)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่

                      ชั้นความยากง่ายในการเขตกรรม
                               -  ศักยภาพการใช้เครื่องจักร ( potential  for  mechanization:  w)  คุณลักษณะที่ดิน

                      ที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่ปริมาณก้อนหิน และการมีเนื้อดินเหนียวจัด
                               - ความเสียหายจากการกัดกร่อน (erosion hazard: e) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน

                      ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่และปริมาณดินที่สูญเสีย
                              (2)   การวัดและการประเมินคุณภาพที่ดิน

                                เนื่องจากคุณภาพที่ดินเป็นนามธรรมไม่สามารถวัดออกเป็นค่าเชิงปริมาณได้ จึงวัด

                      จากองค์ประกอบของคุณภาพที่ดิน คือ คุณลักษณะที่ดิน ซึ่งคุณลักษณะที่ดินมีหลายตัวที่ใช้เป็นตัวแทน
                      คุณภาพที่ดินตัวเดียวกัน ดังนั้นจึงมีการคาดคะเนผลจากการร่วมกันของปัจจัย (diagnostic  factors)
                      โดยมีอยู่หลายวิธี ในที่นี้ใช้วิธีการประเมินจากคุณลักษณะที่ดินที่มีข้อจํากัดรุนแรงที่สุด


                            2) ความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน(Land Use Requirement: LUR)แบ่งออกเป็น
                      3ด้าน คือ

                              (1)   ความต้องการด้านพืช (crop requirement) เป็นความต้องการปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
                      และการให้ผลผลิตของพืช ซึ่งประกอบด้วยคุณภาพที่ดินดังนี้ ความเข้มของแสงระบอบอุณหภูมิ

                      ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช ความเป็นประโยชน์
                      ของธาตุอาหาร ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร สภาวะการหยั่งลึกของราก ความเสียหายจากนํ้าท่วม

                      การมีเกลือมากเกินไป และสารพิษ
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99