Page 57 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                             3-1




                                                           บทที่ 3

                                           การวิเคราะห์เพื่อกําหนดเขตการใช้ที่ดิน




                      3.1  การวิเคราะห์และจัดทําหน่วยที่ดิน

                            ข้อมูลทรัพยากรดินเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สําคัญในการกําหนดเขตการใช้ที่ดิน เพราะช่วยให้ทราบถึง
                      สภาพปัญหาและข้อจํากัดของดินในพื้นที่ซึ่งในการวิเคราะห์และจัดทําหน่วยที่ดินนั้น จะจัดทําโดยใช้

                      สมบัติของดินเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อจัดทําเป็นข้อมูลคุณภาพที่ดิน (land quality) สําหรับพิจารณาศักยภาพ
                      ของหน่วยที่ดินต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกันในการจัดทํา

                      หน่วยที่ดินนั้น ข้อมูลกลุ่มชุดดินจะถูกนํามาพิจารณาร่วมกับข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถรวบรวมได้จาก
                      หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์โดย

                      ใช้วิธีการซ้อนทับข้อมูล ซึ่งในการประเมินและจัดทําคุณภาพที่ดินจะใช้ปัจจัยพิจารณา ประกอบด้วย
                      การระบายนํ้าของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ความอิ่มตัวด้วยประจุบวก

                      ที่เป็นด่าง ความลึกของดิน การหยั่งลึกของราก ปริมาณก้อนกรวด ค่าการนําไฟฟ้า ปฏิกิริยาดิน ความยากง่าย
                      ในการเขตกรรมและความลาดชัน นอกจากจะใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดินแล้ว ยังมีข้อมูลที่ได้นํามาใช้ประกอบการ

                      จัดทําหน่วยที่ดิน ประกอบด้วยระบบชลประทาน รูปแบบการจัดการพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรทําให้ได้
                      หน่วยที่ดินที่มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การกําหนดเขตการใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพหน่วยที่ดินที่ได้

                      จัดทําเพื่อกําหนดเขตการใช้ที่ดินสําหรับปลูกข้าว มีรายละเอียดดังนี้
                            1)  หน่วยที่ดินที่ 1

                              พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก การระบายนํ้าเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์
                      ปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกและความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างสูง ดินบนเนื้อดินเป็น

                      ดินเหนียวปนทรายแป้งถึงดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                      6.0-7.0 ดินล่างเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ งถึงดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างปานกลาง มีค่า

                      ความเป็นกรดเป็นด่าง 7.0-8.0 ประกอบด้วย
                              หน่วยที่ดินที่ 1 : พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ

                              หน่วยที่ดินที่ 1I : พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบและมีระบบชลประทาน
                            2) หน่วยที่ดินที่ 2

                              พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก การระบายนํ้าเลว ดินมีความ
                      อุดมสมบูรณ์ปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงและความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็น

                      ด่างค่อนข้างตํ่าถึงปานกลาง ดินบนเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ งถึงดินเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
                      มากถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-5.5  ดินล่างเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งถึงดินเหนียว
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62