Page 50 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            2-32





                            2.6.2  การตลาด
                                 ข้าวเป็นอาหารหลักประจําวันของคนไทยและประชากรโลกกว่าครึ่งโลก นับเป็นพืช

                      เศรษฐกิจที่เป็นแหล่งรายได้ของเกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศและเป็นสินค้าหลักของประเทศไทยใน
                      การส่งออก เนื่องจากมีพื้นที่อยู่ในเขตมรสุมเหมาะแก่การปลูกข้าวและผลิตได้มากกว่าความต้องการ

                      บริโภคภายในประเทศ ตลาดค้าขายข้าวจึงมีทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศทั่วโลก
                      โดยประเทศไทยครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ของการส่งออกข้าวในตลาดโลกมานานกว่า 20

                      ปี ติดต่อกัน ปี 2555 ได้เสียอันดับการส่งออกให้คู่แข่ง คือ ประเทศอินเดียและเวียดนาม

                                 วิถีการตลาดข้าวตลาดข้าวของประเทศไทยมีวิถีการตลาด ตามขั้นตอนจากแหล่งผลิต
                      จนถึงมือผู้บริโภคและส่งออก เริ่มตั้งแต่เกษตรกรชาวนาผู้ผลิตข้าวเปลือก พ่อค้ารวบรวมท้องถิ่น

                      โรงสีข้าว หยง (ผู้ทําหน้าที่เป็นตัวกลางในการซื้อขายข้าวสารระหว่างโรงสีข้าวกับพ่อค้าขายส่่งใน
                      ประเทศและพ่อค้าส่งออก) พ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายปลีกในประเทศ และพ่อค้าส่งออก หรือแบ่งตลาด

                      ตามสภาพผลผลิตข้าว ประกอบด้วยตลาดข้าวเปลือกและตลาดข้าวสาร
                                 -  การตลาดข้าวเปลือก วิถีการตลาดเริ่มต้นจากเกษตรกรชาวนาผู้ผลิตข้าวเปลือก พ่อค้า

                      รวบรวมท้องถิ่น สถาบันเกษตรกร ตลาดกลาง ข้าวเปลือก โดยข้าวเปลือกจะถูกรวบรวมแล้วส่งไปยัง

                      โรงสีข้าว
                                 -  การตลาดข้าวสารวิถีการตลาดข้าวสารเริ่มจากโรงสีข้าวซึ่งเป็นผู้แปรรูปข้าวเปลือก ให้เป็น

                      ข้าวสารแล้วส่งข้าวสารไปยังพ่อค้าขายส่งในประเทศเพื่อกระจายข้าวสารไปยังพ่อค้าขายปลีก และ
                      ผู้บริโภคในประเทศ ส่วนการส่งออกจะส่งผ่านหยงหรือนายหน้า หรือส่งให้กับพ่อค้าผู้ส่งออก

                      โดยตรง ซึ่งผู้ส่งออกจะทําการส่งออกข้าวตามขั้นตอนและกฎระเบียบที่กําหนดไปยังประเทศผู้รับซื้อต่างๆ
                      ต่อไป

                                 การตลาดข้าวของประเทศไทย มีความเชื่อมโยงกับตลาดโลกอย่างใกล้ชิด เมื่อ สถานการณ์
                      ตลาดโลกทําให้ราคาข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ราคาข้าวในประเทศก็มีแนวโน้มปรับ ระดับสูงตามไปด้วย

                      เนื่องจากข้าวถือเป็นสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ (Commodity)ที่ราคาในตลาดโลก เป็นไปตามกลไกล
                      ตลาดอย่างแท้จริงโดยระดับราคาในตลาดโลกจะปรับขึ้นหรือลง ขึ้นกับอุปสงค์และอุปทาน เมื่ออุปทาน

                      มากกว่าอุปสงค์ระดับราคาข้าวในตลาดโลกก็จะปรับลดลง ช่วงที่อุปสงค์มากกว่าอุปทานระดับราคาก็จะ

                      ปรับตัวสูงขึ้น การตลาดข้าวจึงแบ่งการศึกษาเป็นตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ดังนี้
                              1)  ตลาดภายในประเทศ ผลผลิตข้าวสารจะใช้บริโภคภายในประเทศประมาณร้อยละ 52

                      ที่เหลือร้อยละ 48 จะส่งออกไปขายต่างประเทศ ช่วงปี 2551-2555 ปริมาณการใช้ข้าวสารในประเทศ เฉลี่ย
                      9.74 ล้านตันต่อปี หรือร้อยละ 52.05 ต่อปี ปริมาณข้าวสารส่งออกเฉลี่ย 9.05 ล้านตันต่อปี หรือร้อยละ

                      47.95 ต่อปี (ตารางที่2-11)
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55