Page 28 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            2-16





                      บริโภค และการเกษตร ซึ่งเป็นความจําเป็นขั้นพื้นฐานของราษฎรในชนบท หรือพื้นที่ที่ห่างไกล รวมทั้ง
                      การแก้ไข บรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัยและนํ้าเค็มที่ขึ้นถึงพื้นที่เพาะปลูก โดยการก่อสร้างอาคาร

                      ชลประทาน ขนาดเล็กประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและปัญหาที่เกิดขึ้นตามความ
                      ต้องการของราษฎร ซึ่งในปัจจุบันมีโครงการชลประทานขนาดเล็กรวม 13,496 แห่งปริมาตรนํ้าที่เก็บกัก

                      1,754.983 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 1,002,809 ไร่และพื้นที่รับประโยชน์ 10,231,382 ไร่
                                 4)  โครงการสูบนํ้าด้วยไฟฟ้ า หมายถึง โครงการที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูบนํ้าเพื่อใช้ประโยชน์

                      ในด้านเกษตรกรรม เป็นการเร่งรัดขจัดปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่นอกเขตชลประทาน โดยการจัดตั้ง

                      สถานีสูบนํ้าด้วยไฟฟ้าขึ้นที่บริเวณริมฝั่งของแหล่งนํ้าที่มีนํ้าบริบูรณ์ตลอดทั้งปี ซึ่งในปัจจุบัน มีโครงการ
                      สูบนํ้าด้วยไฟฟ้ารวม 2,458 แห่ง พื้นที่ชลประทาน 4,325,442 ไร่และพื้นที่รับประโยชน์ 491,395 ไร่

                                 5)  โครงการแก้มลิงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริในการแก้ไขปัญหานํ้าท่วม
                      ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยการขุดลอกคลองชายฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่นํ้า

                      เจ้าพระยาให้เป็นคลองพักนํ้าขนาดใหญ่หรือ “แก้มลิง” แล้วระบายนํ้าออกสู่ทะเลโดยใช้หลักทฤษฎี
                      แรงโน้มถ่วงของโลกหรือนํ้าขึ้นนํ้าลงตามธรรมชาติซึ่งโครงการแก้มลิงได้ขยายการดําเนินงาน ออกไปเพื่อ

                      แก้ไขปัญหานํ้าท่วมในพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ในปัจจุบันมีโครงการแก้มลิงรวม 200 แห่ง ปริมาตรนํ้าที่เก็บกัก
                      380.821 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 58,900 ไร่และพื้นที่รับประโยชน์ 964,864ไร่



                      ตารางที่2-2  โครงการชลประทานประเภทต่างๆตั้งแต่ต้นจนถึงสิ้นปีงบประมาณ2555

                                                  จํานวนโครงการ ปริมาตรนํ้าเก็บกัก พื้นที่ชลประทาน พื้นที่รับประโยชน์
                                รายการ
                                                     (แห่ง)     (ล้านลบ.ม.)      (ไร่)         (ไร่)
                      1  โครงการชลประทานขนาดใหญ่          93      70,013.160    18,056,928     -
                      2  โครงการชลประทานขนาดกลาง         767       3,954.375    6,337,964      -

                      3  โครงการชลประทานขนาดเล็ก       13,496      1,754.983    1,002,809     10,231,382
                      4  โครงการสูบนํ้าด้วยไฟฟ้ า      2,458        -           4,325,442       491,395

                      5  โครงการแก้มลิง                  200        380.821        58,900       964,864
                               รวมทั้งสิ้น             17,014     76,103.339    29,782,043    11,687,641


                      ที่มา:  กรมชลประทาน (2555)
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33