Page 27 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            2-15





                                แม่นํ้าปัตตานีมีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร ต้นนํ้าอยู่ในเทือกเขาสันกาลาคีรี
                      กั้นพรมแดนไทยกับมาเลเซียในเขตอําเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นแม่นํ้าที่ไหลผ่านอําเภอธารโต อําเภอ

                      บันนังสตา และอําเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา และไหลผ่านจังหวัดปัตตานีที่อําเภอยะรัง จนกระทั่ง
                      ออกสู่อ่าวไทยที่อําเภอเมืองปัตตานีจังหวัดปัตตานี

                                แม่นํ้าสายบุรีมีความยาวประมาณ 186 กิโลเมตร ต้นนํ้าเกิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรี
                      ระหว่างเขาคุลากาโอกับเขาตาโบ้ ในอําเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ไหลขึ้นไปทางเหนือผ่านอําเภอ

                      ศรีสาคร อําเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส และไหลผ่านเข้าไปในเขตอําเภอรามัน จังหวัดยะลา และ

                      ไหลลงสู่อ่าวไทย ที่อําเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
                            2.4.2  แหล่งนํ้าชลประทาน

                                 แหล่งนํ้าชลประทานจากกรมชลประทานที่จัดทําขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งนํ้าหรือเพื่อเก็บกัก
                      รักษาควบคุมส่งนํ้าระบายนํ้าหรือแบ่งนํ้าเพื่อเกษตรกรรม การพลังงาน การสาธารณูปโภค การอุตสาหกรรม

                      การป้ องกันความเสียหายอันเกิดจากนํ้า รวมถึงการคมนาคมทางนํ้า มีประเภทโครงการชลประทานที่สําคัญ
                      ดังต่อไปนี้(ตารางที่ 2-2)

                                 1)  โครงการชลประทานขนาดใหญ่ คือ งานชลประทานเอนกประสงค์ที่สามารถ ก่อให้เกิด

                      ประโยชน์ทางด้านการเกษตร การอุปโภคบริโภค การบรรเทาอุทกภัย การอุตสาหกรรม การผลิต
                      กระแสไฟฟ้าจากพลังนํ้า การคมนาคม แหล่งเพาะพันธุ์ประมงนํ้าจืด แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ

                      และอื่นๆ ในแต่ละโครงการมีงานก่อสร้างหลายประเภท เช่น เขื่อนเก็บกักนํ้า เขื่อนหรือฝายทดนํ้า การสูบนํ้า
                      ระบบส่งนํ้า ระบบระบายนํ้า ระบบชลประทานในแปลงนา ถ้าเป็นการก่อสร้างประเภทเขื่อนเก็บกักนํ้า

                      สามารถเก็บกักนํ้าได้มากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมีพื้นที่อ่างเก็บนํ้าตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตร
                      หรือมีพื้นที่ชลประทานมากกว่า 80,000 ไร่ ซึ่งในปัจจุบันมีโครงการชลประทานขนาดใหญ่รวม 93 แห่ง

                      ปริมาตรนํ้าที่เก็บกัก 70,013.160 ล้านลูกบาศก์เมตร และพื้นที่ชลประทาน 18,056,928 ไร่
                                 2)  โครงการชลประทานขนาดกลาง หมายถึง โครงการชลประทานที่มีขนาดเล็กกว่า

                      โครงการชลประทานขนาดใหญ่ โดยต้องเป็นโครงการที่มีการจัดทํารายงานความเหมาะสมแล้ว มีปริมาตร
                      เก็บกักนํ้าน้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่เก็บกักนํ้าน้อยกว่า 15 ตารางกิโลเมตร หรือมีพื้นที่

                      ชลประทานน้อยกว่า 80,000 ไร่ซึ่งจะเป็นงานก่อสร้างอาคารชลประทานประเภทต่างๆ อาทิ เขื่อนเก็บกัก

                      เขื่อนทดนํ้า ฝาย โรงสูบนํ้า ระบบส่งนํ้า และระบายนํ้า ฯลฯ รวมทั้งงานก่อสร้างทางลําเลียงผลผลิต
                      และงานแปรสภาพลํานํ้า ซึ่งในปัจจุบันมีโครงการชลประทานขนาดกลางรวม 767 แห่ง ปริมาตรนํ้า ที่เก็บกัก

                      3,954.375 ล้านลูกบาศก์เมตร และพื้นที่ชลประทาน 6,337,964 ไร่
                              3)  โครงการชลประทานขนาดเล็กหมายถึง งานพัฒนาแหล่งนํ้าขนาดเล็กที่กรมชลประทาน

                      ได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2520 เพื่อแก้ปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนเกี่ยวกับเรื่องนํ้าสําหรับการอุปโภค
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32