Page 139 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 139

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-80






                                 การทํานาปีมีทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานจึงจําแนกพื้นที่การศึกษา
                      เป็นในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานในระดับประเทศ พื้นที่ดังนี้

                                 ในเขตชลประทาน
                                 1) ต้นทุนรายได้และผลตอบแทนในเขตชลประทานระดับประเทศ

                                 ข้าวที่ปลูกในเขตชลประทานของประเทศปี 2555/56  ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 695.0 กิโลกรัม
                      รายได้/มูลค่าผลผลิตไร่ละ 7,645.00  บาท ต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 5,547.20  บาท เป็นต้นทุนผันแปรไร่ละ

                      3,734.40 บาท (ร้อยละ 67.32) และต้นทุนคงที่ไร่ละ 1,812.80 บาท (ร้อยละ 48.54) ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุน
                      ผันแปรส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงานเครื่องจักรไร่ละ 1,011.78 บาท (ร้อยละ 27.09) ค่าปุ๋ ยรวมไร่ละ 991.50 บาท

                      (ร้อยละ 26.55)  ค่าพันธุ์ไร่ละ 397.65  บาท (ร้อยละ 10.65)  ค่าสารป้ องกัน และกําจัดศัตรูพืช/โรคพืชและ
                      สารเร่งการเจริญเติบโตไร่ละ 193.82 บาท (ร้อยละ 5.19) ค่าขนส่ง ผลผลิตไร่ละ 176.11บาท (ร้อยละ 4.72)
                      เป็นต้น จากต้นทุนทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินไร่ละ 3,581.00 บาท (ร้อยละ 64.56).  และไม่เป็นเงินไร่

                      ละ 1,966.20 บาท (ร้อยละ 35.44) ได้ผลตอบแทน เหนือต้นทุนที่เป็นเงินไร่ละ 4,064.00 บาท ผลตอบแทน
                      เหนือต้นทุนผันแปรไร่ละ 3,910.60 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 2,097.80 บาท ต้นทุนต่อ

                      กิโลกรัม 7.98 บาท (ราคาขายกิโลกรัมละ 11.0 บาท) และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.38
                      แสดงว่า เกษตรกรได้รับรายได้จาก การลงทุนตํ่า (ตารางที่ 3-20)

                                 นอกเขตชลประทาน
                                 1) ต้นทุนรายได้และผลตอบแทนนอกเขตชลประทานระดับประเทศ

                                  ข้าวที่ปลูกนอกเขตชลประทาน ของประเทศปี  2555/56ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 569.00
                      กิโลกรัม รายได้/มูลค่าผลผลิตไร่ละ 6,259.00 บาท ต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 5,610.54 บาท เป็นต้นทุนผันแปร

                      ไร่ละ 3,817.96 บาท (ร้อยละ 68.05) และต้นทุนคงที่ไร่ละ 1,792.58 บาท (ร้อยละ 31.95) ค่าใช้จ่ายที่เป็น
                      ต้นทุนผันแปรส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงานเครื่องจักรไร่ละ 1,019.04  บาท (ร้อยละ 26.69)  ค่าปุ๋ ยรวมไร่ละ

                      908.67  บาท(ร้อยละ 23.80)  ค่าพันธุ์ไร่ละ 345.74  บาท (ร้อยละ 9.06)  ค่าขนส่งผลผลิต ไร่ละ 171.80  บาท
                      (ร้อยละ 4.50)ค่าวัสดุปรับปรุงบํารุงดินไร่ละ 139.74  บาท (ร้อยละ 3.66)  เป็นต้น จากต้นทุนทั้งหมดเป็น

                      ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินไร่ละ 3,301.49  บาท (ร้อยละ 58.84)  และไม่เป็นเงินไร่ละ 2,309.05  บาท (ร้อยละ 41.16)
                      ได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินไร่ละ 2,957.51บาท ผลตอบแทน เหนือต้นทุนผันแปรไร่ละ

                      2,441.04 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 648.46 บาท ต้นทุน ต่อกิโลกรัม 9.86 บาท (ราคา
                      ขายกิโลกรัมละ 11.00  บาท)  และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด เท่ากับ 1.12  แสดงว่า เกษตรกร
                      ได้รับรายได้จากการลงทุนตํ่า (ตารางที่ 3-21)
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144