Page 136 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 136

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-77






                                      (5) ภาคใต้ ข้าวที่ปลูกในพื้นที่ภาคใต้ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 559.00  กิโลกรัม
                      รายได้/มูลค่าผลผลิตไร่ละ 6,193.72 บาท ต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 4,703.83 บาท เป็นต้นทุนผันแปรไร่ละ

                      3,102.86  บาท (ร้อยละ 65.96)  และต้นทุนคงที่ไร่ละ 1,600.97  บาท (ร้อยละ 34.04)  ค่าใช้จ่ายที่เป็น
                      ต้นทุนผันแปรส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงานเครื่องจักรไร่ละ 913.41บาท (ร้อยละ 29.44)  ค่าปุ๋ ยรวมไร่ละ

                      790.21บาท (ร้อยละ 25.47) ค่าพันธุ์ไร่ละ 342.49 บาท (ร้อยละ 11.04) ค่าสารกาจัดวัชพืชไร่ละ 109.43
                      บาท (ร้อยละ 3.53)  ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช/โรคพืช และสารเร่งการเจริญเติบโตไร่ละ 101.29

                      บาท (ร้อยละ 3.26)   เป็นต้นจากต้นทุนทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินไร่ละ 3,194.34   บาท
                      (ร้อยละ 67.91)  และไม่เป็นเงินไร่ละ 1,509.49  บาท (ร้อยละ 32.09)  ได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงิน

                      ไร่ละ 2,999.38  บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรไร่ละ 3,090.86  บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุน
                      ทั้งหมด ไร่ละ 1,489.89  บาท ต้นทุนต่อกิโลกรัม 8.41บาท (ราคาขายกิโลกรัมละ 11.08  บาท)  และมี

                      อัตราส่วน รายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.32  แสดงว่า เกษตรกรได้รับรายได้จากการลงทุนตํ่า
                      (ตารางที่ 3-18)

                                         ต้นทุน รายได้และผลตอบแทนตามระดับความเหมาะสมของพื้นที่ในภาคใต้
                      พบว่า ในพื้นที่ทั้ง 3 ระดับความเหมาะสมได้ผลผลิตเป็นไปตามความเหมาะสมของพื้นที่คือ ผลผลิตเฉลี่ย

                      ไร่ละ 333.00-604.00  กิโลกรัม รายได้/มูลค่าผลผลิตไร่ละ 3,689.64-6,692.32  บาท พื้นที่ที่มีระดับ
                      ความเหมาะสมสูง S(1) มีต้นทุนทั้งหมดสูงที่สุด รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2)

                      กล่าวคือ ต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 2,895.43-4,776.19  บาท ต้นทุนผันแปรไร่ละ 1,821.63-3,021.26  บาท
                      ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนผันแปรเป็นค่าแรงงานมากที่สุดไร่ละ 1,110.82-1,275.02  บาท โดยคิดเป็น
                      สัดส่วนร้อยละ 37.62-69.99  ของต้นทุนผันแปร สัดส่วนสูงสุดในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย

                      (S3)รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2)  ผลตอบแทนและอัตราส่วนรายได้ต่อ

                      ต้นทุนทั้งหมดสูงสุดในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1)   รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีระดับ
                      ความเหมาะสมปานกลาง (S2)  ต้นทุนต่อกิโลกรัมตํ่าสุดในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1)
                      รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)  กล่าวคือ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                      ไร่ละ 1,868.01-3,739.41บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 794.12-1,916.13  บาท ต้นทุน

                      ต่อกิโลกรัม 7.91-8.87  บาท (ราคาขายกิโลกรัมละ 11.08  บาท)  อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด
                      เท่ากับ 1.25-1.40 นับว่า ได้รับรายได้จากการลงทุนตํ่า(ตารางที่ 3-19)
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141