Page 71 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 71

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           48







                           7.4.2  หน่วยที่ดินที่ 22M2 22M2I 22hiM2 และ 22hiM2I

                         หน่วยที่ดินนี้เกิดจากวัตถุกําเนิดดินพวกตะกอนลํานํ้าเนื้อหยาบ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบถึง

               ค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึกมาก มีการระบายนํ้าดีปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า
                           ดินบนและดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกตํ่า และความ

               อิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างสูง ดินบนมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-5.0
               การหยั่งลึกของราก และความยากง่ายในการเขตกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ดินล่างมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด

               มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.0-5.5 การหยั่งลึกของรากอยู่ในระดับปานกลาง

                           พบ 4 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่รวม 10,705 ไร่ หรือร้อยละ 2.31 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ประกอบด้วย
                              1) หน่วยที่ดินที่ 22M2 : มีการยกร่องเพื่อให้ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ผลได้ มีเนื้อที่ 3,024 ไร่

               หรือร้อยละ 0.65 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                              2) หน่วยที่ดินที่ 22M2I  :  มีระบบชลประทาน และมีการยกร่องเพื่อให้ปลูกไม้ยืนต้นหรือ

               ไม้ผลได้ มีเนื้อที่ 4,375 ไร่ หรือร้อยละ 0.94 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                              3) หน่วยที่ดินที่ 22hiM2  :  พบในพื้นที่ดอน และเสี่ยงต่อการขาดนํ้า มีการยกร่องเพื่อให้

               ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ผลได้ มีเนื้อที่ 2,628 ไร่ หรือร้อยละ 0.57 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                              4) หน่วยที่ดินที่ 22hiM2I : พบในพื้นที่ดอน มีระบบชลประทาน และมีการยกร่องเพื่อให้
               ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ผลได้ มีเนื้อที่ 678 ไร่ หรือร้อยละ 0.15 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                           7.4.3  หน่วยที่ดินที่ 31B 31BI และ 31C

                         หน่วยที่ดินนี้เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้ว
               เคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อละเอียด หรือเกิดจากตะกอนนํ้า สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึง

               ลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินลึกมาก มีการระบายนํ้าดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง

                           ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกตํ่าปานกลางถึง
               ค่อนข้างสูง และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างค่อนข้างตํ่าถึงปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรด

               เล็กน้อย มีค่าความเป็ นกรดเป็ นด่าง 5.5-6.5 การหยั่งลึกของรากและความยากง่ายในการเขตกรรม

               อยู่ในระดับปานกลาง ดินล่างเนื้อดินเป็นดินเหนียว ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกตํ่าปานกลาง
               ถึงค่อนข้างสูง และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างค่อนข้างตํ่าถึงปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด

               ถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-7.0 การหยั่งลึกของรากอยู่ในระดับยาก

                           พบ 3 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่รวม 4,833 ไร่ หรือร้อยละ 1.04 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ประกอบด้วย
                              1) หน่วยที่ดินที่ 31B  :  พบในสภาพพื้นที่ที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อที่ 4,064  ไร่

               หรือร้อยละ 0.88 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                              2) หน่วยที่ดินที่ 31BI : พบในสภาพพื้นที่ที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย  มีระบบชลประทาน มี
               เนื้อที่ 204 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76