Page 70 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 70

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           47







                       7.4  การวิเคราะห์และจัดทําหน่วยที่ดิน

                       เมื่อนําข้อมูลหน่วยแผนที่ดินไปวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลชลประทาน เขตจัดรูปที่ดิน และการใช้

               ประโยชน์ที่ดินแล้ว จะได้เป็นข้อมูลหน่วยที่ดิน จากนั้นจะนําข้อมูลหน่วยที่ดินดังกล่าวไปตรวจสอบความ
               ถูกต้องในภาคสนาม และจะถูกปรับแก้ให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงที่พบในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ซึ่งในลุ่มนํ้า

               สาขาห้วยทับเสลาไม่อยู่ในพื้นที่เขตจัดรูปที่ดิน (M1)  แต่พบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ทํานาในพื้นที่ดอน (b)
               และการยกร่องเพื่อใช้ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ผลในพื้นที่ลุ่ม (M2)

                       จากผลการวิเคราะห์และจัดทําหน่วยที่ดินพบหน่วยที่ดินทั้งหมดในลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา 31

               หน่วยที่ดิน ประกอบด้วย หน่วยที่ดินในพื้นที่ลุ่ม 8 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 23,346 ไร่ หรือร้อยละ 5.04 ของ
               พื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา หน่วยที่ดินในพื้นที่ดอน 21 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 419,767 ไร่ หรือร้อยละ 90.50 ของพื้นที่

               ลุ่มนํ้าสาขา และหน่วยที่ดินในพื้นที่เบ็ดเตล็ด 2 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 20,712 ไร่ หรือร้อยละ 4.46 ของพื้นที่
               ลุ่มนํ้าสาขา โดยแต่ละหน่วยที่ดินมีคุณภาพที่ดินที่แตกต่างกันตามคุณลักษณะเฉพาะของหน่วยที่ดิน ดังนี้

               (ตารางที่ 7 และภาพที่ 9)
                       การประเมินคุณภาพที่ดิน จะประเมินจากความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยมี

               ปัจจัยสําคัญที่นํามาใช้พิจารณา คือ สมบัติทางกายภาพและทางเคมี เช่น การระบายนํ้า ความลึกของดิน
               ปฏิกิริยาดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นต้น

                           7.4.1  หน่วยที่ดินที่ 22 22I 22hi  และ 22hiI

                         หน่วยที่ดินนี้เกิดจากวัตถุกําเนิดดินพวกตะกอนลํานํ้าเนื้อหยาบ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบถึง
               ค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึกมาก มีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า

                           ดินบนและดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกตํ่า และความ
               อิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างสูง ดินบนมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-5.0

               การหยั่งลึกของราก และความยากง่ายในการเขตกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ดินล่างมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด

               มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.0-5.5 การหยั่งลึกของรากอยู่ในระดับปานกลาง
                           พบ 4 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่รวม 12,641 ไร่ หรือร้อยละ 2.73 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ประกอบด้วย

                              1) หน่วยที่ดินที่ 22 : มีเนื้อที่ 6,759 ไร่ หรือร้อยละ 1.46 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                              2) หน่วยที่ดินที่ 22I : มีระบบชลประทาน มีเนื้อที่ 5,220 ไร่ หรือร้อยละ 1.13 ของพื้นที่ลุ่ม

               นํ้าสาขา
                              3) หน่วยที่ดินที่ 22hi  :  พบในพื้นที่ดอน และเสี่ยงต่อการขาดนํ้า มีเนื้อที่ 472 ไร่ หรือ

               ร้อยละ 0.10 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                              4) หน่วยที่ดินที่ 22hiI : พบในพื้นที่ดอน และมีระบบชลประทาน มีเนื้อที่ 190 ไร่ หรือร้อย
               ละ 0.04 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75