Page 41 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           26








                                  (2)   ความชื้นสัมพัทธ์  เนื่องจากลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลาตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้น
               ศูนย์สูตร จึงมีอากาศร้อนอบอ้าวและชื้นเกือบตลอดปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 72 เปอร์เซ็นต์ เดือน

               กันยายน มีความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด 83 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงอย่างชัดเจนในช่วงฤดูหนาว

               และฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ลดลงตํ่าสุดในรอบปี โดยเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม มี
               ความชื้นสัมพัทธ์ตํ่าสุด 62 เปอร์เซ็นต์

                                  (3)  ปริมาณนํ้าฝน ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรวมตลอดปี  1,105.2  มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่า

               ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรวมตลอดปีของประเทศไทย (1,572.5 มิลลิเมตร) มีจํานวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยรวมตลอดปี
               107 วัน ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรวมในช่วงฤดูฝน 961 มิลลิเมตร หรือร้อยละ 86.95 ของปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ย

               รวมตลอดปี โดยมีจํานวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยรวม 92 วัน เมื่อพิจารณาปริมาณนํ้าฝนรายเดือน พบว่าเดือน

               กันยายนมีปริมาณนํ้าฝนสูงสุดในรอบปี 228.6 มิลลิเมตร หรือร้อยละ 20.68 ของปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรวมตลอดปี
                                2) สมดุลของนํ้าเพื่อการเกษตร

                               เป็นการวิเคราะห์หาช่วงฤดูการเพาะปลูกในฤดูฝนที่เหมาะสม ช่วงระยะเวลาที่พืช

               เสี่ยงต่อการขาดนํ้า ซึ่งต้องหลีกเลี่ยงการปลูกพืชเมื่อจัดหานํ้าไว้ให้พืชได้ไม่เพียงพอ ข้อมูลที่นํามาวิเคราะห์ คือ

               ปริมาณนํ้าฝน ค่าการระเหยและการคายนํ้าอ้างอิง (Evapotranspiration : ETo) จากตารางที่ 3 ค่า ETo คํานวณ
               โดยใช้สมการ Penman-Monteith จากการวิเคราะห์ สามารถสรุปสมดุลของนํ้าเพื่อการเกษตรลุ่มนํ้าสาขา

               ห้วยทับเสลา ได้ดังนี้ (ภาพที่ 4)

                                  (1)  ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช อยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายน
               ถึงต้นเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่มีค่าปริมาณนํ้าฝนสูงกว่าค่า 0.5 การระเหยและการคายนํ้าอ้างอิง เหมาะต่อ

               การเพาะปลูก ดินมีความชื้นพอและอุ้มนํ้าได้เต็มที่

                                  (2)  ช่วงระยะเวลาที่มีนํ้าฝนมากเกินพอ เป็นช่วงฝนตกชุกมีความชื้นสูง ความชื้นใน

               ดินสูงและอาจมากเกินความต้องการของพืช พืชที่ปลูกในที่ราบตํ่าและดินมีการระบายนํ้าเลว อาจประสบปัญหา
               นํ้าท่วมเสียหายได้ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนหรือพายุดีเปรสชั่น ช่วงระยะเวลานี้ เริ่มตั้งแต่

               ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนตุลาคม

                                  (3)  ช่วงระยะเวลาที่ไม่สามารถปลูกพืชได้โดยอาศัยนํ้าฝน หรือช่วงขาดนํ้า ดิน
               มีความชื้นน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการนํ้าของพืช เป็นช่วงฤดูแล้ง อยู่ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน

               ถึงปลายเดือนเมษายนของปีถัดไป
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46