Page 46 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           29








                           7.1.4  ทรัพยากรนํ้า

                           ทรัพยากรนํ้าในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา ประกอบด้วยแหล่งนํ้าธรรมชาติ และแหล่งนํ้าที่

               สร้างขึ้น โดยแหล่งนํ้าธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลาที่สําคัญได้แก่ ห้วยแรด ห้วยหินดาด ห้วย
               ทับเสลา ห้วยเหล็ก ห้วยเหลือง ห้วยสองทาง ห้วยนํ้าโจน ห้วยนํ้าดิบ ห้วยนํ้าซับ ห้วยก้อย ห้วยนํ้าขุ่น ห้วยลึก

               ห้วยระบํา ห้วยโป่งกา ห้วยรัง ห้วยฆ้องชัย เป็นต้น ส่วนแหล่งนํ้าที่สร้างขึ้น ได้แก่ สระนํ้าในไร่นา สระนํ้า

               สาธารณประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีโครงการส่งนํ้าและบํารุงรักษาทับเสลาซึ่งเป็นเขตชลประทาน ที่สามารถ
               ให้นํ้าได้ตลอดปีอีกด้วย (ภาพที่ 5)


                           7.1.5  ทรัพยากรป่ าไม้

                           จากการวิเคราะห์สถานภาพทรัพยากรป่าไม้ตามกฎหมาย (กรมป่าไม้,  2554) ในลุ่มนํ้าสาขา

               ห้วยทับเสลาร่วมกับข้อมูลเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม,
               2554) สามารถแบ่งเขตป่าไม้ได้ดังนี้ (ตารางที่ 4 และภาพที่ 6)

                                1) เขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย  มีเนื้อที่ 388,807 ไร่ หรือร้อยละ 83.83 ของพื้นที่ลุ่มนํ้า

               สาขา แบ่งออกเป็น
                                  (1) เขตอุทยานแห่งชาติ (NP) คือ บริเวณที่ดินที่มีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ ให้

               คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน โดยรัฐจะ

               ประกาศพระราชกฤษฎีกา และให้มีแผนที่แสดงแนวเขตแห่งบริเวณที่กําหนดนั้นแนบท้ายพระราชกฤษฎีกา
               ด้วย โดยที่ดินที่จะกําหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาตินั้น ต้องเป็นที่ดินที่มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือครอบครอง

               โดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งมิใช่ทบวงทางการเมือง มีเนื้อที่ 203 ไร่ หรือร้อยละ 0.05

               ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                                  (2) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (WLS) หมายถึง พื้นที่ที่กําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัย

               ของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย เพื่อว่าสัตว์ป่าในพื้นที่ดังกล่าว จะได้มีโอกาสสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ

               ได้มากขึ้น ทําให้สัตว์ป่าบางส่วนมีโอกาสกระจายจํานวนออกไปในท้องที่แหล่งอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับ เขต

               รักษาพันธุ์สัตว์ป่า ในการเลือกพื้นที่เพื่อกําหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น จะต้องเป็นแหล่งที่มีสัตว์
               ป่าชนิดที่หายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์อาศัยอยู่ มีแหล่งนํ้า แหล่งอาหาร เป็นที่หลบภัยสําหรับสัตว์เพียงพอ

               ตลอดจนเป็นแหล่งที่ห่างจากชุมชนพอสมควรและถูกรบกวนน้อย และเป็นพื้นที่ที่ไม่อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือ

               ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งมิใช่ทบวงทางการเมือง  มีเนื้อที่ 250,589 ไร่
               หรือร้อยละ 54.03 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51