Page 40 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           25







                           7.1.3  สภาพภูมิอากาศ

                                1) สภาพภูมิอากาศทั่วไป

                               สภาพภูมิอากาศทั่วไปของลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา เป็นแบบร้อนชื้นสลับแล้ง หรือทุ่งหญ้า

               สะวันนา (Tropical Savannah : Aw) ตามการจําแนกประเภทภูมิอากาศของ Köppen (Köppen classification of

               climate) ซึ่งเป็นสภาพภูมิอากาศที่มีฤดูฝน และฤดูแล้งที่ยาวนานอย่างชัดเจน อุณหภูมิร้อนอบอ้าวเกือบตลอด

               ปี และเดือนที่แล้งที่สุดจะมีปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 60.9 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรวมตลอดปี

               น้อยกว่า 2,540 มิลลิเมตร

                               ลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลาได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียง


               ใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถแบ่งฤดูกาลในลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา ได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้

                               ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนเมษายน ถึงกลางเดือนตุลาคม เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
               พัดปกคลุมพื้นที่ และร่องความกดอากาศตํ่าพาดผ่าน ทําให้มีฝนตกชุกทั่วไป ทั้งนี้โดยทั่วไปประมาณปลาย

               เดือนมิถุนายน อาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงนานประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือบางปีอาจเกิดรุนแรงและมีฝนน้อย

               นานนับเดือน ปกติร่องความกดอากาศตํ่าจะเลื่อนกลับลงมาทางใต้ในเดือนกรกฎาคม ทําให้ฝนตกชุก

               ต่อเนื่องจนถึงกลางเดือนตุลาคม
                               ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อลมมรสุม

               ตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมพื้นที่ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ช่วงกลางเดือนตุลาคม 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วง

               เปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนตกฟ้ าคะนอง
                               ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนเมษายน เป็นช่วงที่ลมมรสุม

               ตะวันออกเฉียงเหนือเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นช่วงที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์

               โดยเฉพาะเดือนเมษายน สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวและแห้งแล้ง บางครั้งมวลอากาศเย็นจากประเทศ
               สาธารณรัฐประชาชนจีนแผ่ลงมาปกคลุม เป็นการปะทะของมวลอากาศเย็นและมวลอากาศร้อน ก่อให้เกิด

               พายุฝนฟ้าคะนองหรือพายุฤดูร้อน

                               สถิติภูมิอากาศจากสถานีตรวจอากาศ อําเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
               ในช่วง 41 ปี ตั้งแต่ปี 2514-2554 (ตารางที่ 3) สามารถสรุปลักษณะภูมิอากาศได้ดังนี้

                                  (1)   อุณหภูมิ สภาวะอากาศโดยทั่วไปมีอากาศค่อนข้างร้อนเกือบตลอดปี

               อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.3 องศาเซลเซียส ใกล้เคียงกับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทย ประมาณ

               27 องศาเซลเซียส เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 38.3 องศาเซลเซียส เดือนธันวาคมมีอุณหภูมิตํ่าสุด
               เฉลี่ย 18.5 องศาเซลเซียส
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45