Page 20 - รายงานการศึกษากระบวนการดำเนินงานเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำดำเนินงานตามบทบัญญัติมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 20

บทที่ 2

                                                      สภาพทั่วไป



                  2.1  ที่ตั้งและอาณาเขต


                      พื้นที่รองรับการประกาศเขตส้ารวจที่ดินลุ่มน้้าน้้าย่าง เป็นลุ่มน้้าย่อยในลุ่มน้้าสาขาแม่น้้าน่านส่วนที่ 2

                  ลุ่มน้้าหลักแม่น้้าน่าน มีเนื้อที่ 213 ตารางกิโลเมตร หรือ 133,138 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 19 องศา 00 ลิปดา
                  08 ฟิลิปดา ถึง 19 องศา 09 ลิปดา 50 ฟิลิปดาเหนือ และลองจิจูด 100 องศา 47 ลิปดา  12 ฟิลิปดา ถึง

                  101องศา 04 ลิปดา 16 ฟิลิปดาตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่อ้าเภอท่าวังผา และอ้าเภอปัว จังหวัดน่าน

                             ทิศเหนือ            ติดต่อ      ลุ่มน้้าสาขาแม่น้้าน่านตอนบน                                                                      2-4

                             ทิศใต้              ติดต่อ      ลุ่มน้้าสาขาน้้ายาว

                             ทิศตะวันออก         ติดต่อ      ลุ่มน้้าสาขาน้้าว้า
                             ทิศตะวันตก          ติดต่อ      ลุ่มน้้าสาขาแม่น้้าน่านส่วนที่ 2


                  2.2  ลักษณะภูมิอากาศ


                      สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปในพื้นที่รองรับการประกาศเขตส้ารวจที่ดินลุ่มน้้าน้้าย่างได้รับอิทธิพล
                  จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดจากทะเลจีนใต้ นอกจากนี้

                  ในแต่ละปีจะได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นและไต้ฝุ่นจากทะเลจีนใต้ ท้าให้มีฝนตกหนักในฤดูฝน

                  จากการรวบรวมข้อมูลภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ณ สถานีตรวจวัดอากาศท่าวังผา จังหวัดน่าน
                  ในรอบ 30 ปี ช่วงปี พ.ศ. 2528-2557 (รูปที่ 2-1 และตารางที่ 2-1) พบว่า ลักษณะอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่

                  รองรับการประกาศเขตส้ารวจที่ดินลุ่มน้้าน้้าย่าง มีอากาศค่อนข้างร้อนเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย

                  ตลอดปี 25.4 องศาเซลเซียส เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 36.2 องศาเซลเซียส เดือนมกราคม

                  มีอุณหภูมิต่้าสุดเฉลี่ย 13.9 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 79.08 เปอร์เซ็นต์ เดือนสิงหาคม
                  มีความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด 86.00 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงอย่างชัดเจนในช่วงฤดูหนาว

                  และฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่้าสุดในรอบปี โดยเดือนมีนาคม มีความชื้นสัมพัทธ์

                  ต่้าสุด 68.00 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้้าฝนเฉลี่ยรวมตลอดปี 1,407.50 มิลลิเมตร มีจ้านวนวันที่ฝนตกเฉลี่ย

                  รวมตลอดปี 135 วัน















                  การศึกษากระบวนการด้าเนินงานเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้้า ตาม พ.ร.บ. พัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25