Page 86 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองนาทวี
P. 86

3-30






                             การประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา

                             การประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดิน เป็นวิธีการศึกษาและวิเคราะห์การสูญเสีย

                  หน้าดินในแต่ละปี การสูญเสียหน้าดินส่วนใหญ่เกิดจากการไหลบ่าของน้้าผิวดินและพัดพาดินไป
                  ตามกระแสน้้า การชะล้างพังทลายของดินก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง

                  ปัญหาการตื้นเขินของแหล่งน้้า ถ้าเกิดการชะล้างพังทลายที่รุนแรงจะเป็นอันตรายต่อคน และสัตว์เลี้ยง

                  รวมทั้งสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนและพืชพรรณที่เพาะปลูก ปัจจัยที่มีผลต่อการชะล้างพังทลาย

                  ของดินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพลมฟ้าอากาศ สภาพภูมิประเทศ ลักษณะดิน ลักษณะพืชพรรณ
                  หรือสิ่งปกคลุมดิน และลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วส่วนใหญ่จะเป็นไป

                  ตามสภาพธรรมชาติไม่สามารถควบคุมได้ แต่ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกิดจากการกระท้า                                                           3-30

                  ของมนุษย์ สามารถควบคุมไม่ให้เกิดการชะล้างพังทลายที่เสียหายได้ ถ้ามีการจัดการด้านการอนุรักษ์ดิน
                  และน้้าที่เหมาะสม

                             ในพื้นที่ลุ่มน้้าสาขาคลองนาทวี ได้ประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดินโดยใช้สมการ

                  การสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation) ตามวิธีการของ Wischmeier และ Smith (1978) โดยมี
                  รูปสมการดังนี้

                          A = R K L S C P

                          ซึ่งมีรายละเอียดตัวแปรแต่ละตัวดังนี้ คือ
                             A  เป็นค่าการสูญเสียดินต่อหน่วยของพื้นที่ ซึ่งได้จากการค้านวณโดยการคูณค่าปัจจัยต่างๆ

                  6 ปัจจัย ค่านี้เป็นการประเมินค่าเฉลี่ยรายปีของการชะล้างพังทลายของช่องว่างระหว่างร่องริ้ว (Interrill)

                  กับร่องริ้ว (rill) จากพายุฝน (rain storm) ส้าหรับพื้นที่ดอน (field sized upland area) ค่านี้โดยทั่วไปไม่รวม

                  การชะล้างพังทลายจากร่องลึก (gully) ริมฝั่งน้้า (stream bank) หรือการพังทลายจากลม แต่ค่า A นี้ จะรวม
                  ตะกอนดินที่ถูกพัดพามาก่อนที่จะถึงตอนล่างของล้าน้้า (downslope stream) หรืออ่างเก็บน้้า (reservoir)

                             R  เป็นค่าที่รวมทั้งปัจจัยของน้้าฝนและการไหลบ่า (rainfall and runoff erosivity factor)

                  ซึ่งเป็นค่าเฉพาะแห่ง ตามปกติค่า R นี้ จะเป็นค่าแสดงความหมายถึงค่าเฉลี่ยรายปีต่อหน่วยดัชนี
                  การชะล้างพังทลาย (erosion index unit)

                          K  เป็นค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน (soil  erodibility  factor)

                  เป็นค่าเฉพาะแต่ละชั้นของดิน (soil horizon)

                          L  เป็นค่าปัจจัยความยาวของความลาดชัน (slope length factor)
                          S  เป็นปัจจัยความชันของการลาดเท (slope steepness factor)

                          C  เป็นค่าปัจจัยการจัดการพืช (crop management factor) เป็นค่าที่ไม่มีขนาดหรือหน่วย

                  ค่า C เป็นค่าที่แสดงความหมายถึงอัตราส่วนของการสูญเสียดิน ระหว่างพื้นที่ที่มีการปลูกพืชชนิดใด





                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91