Page 91 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองบำบัง
P. 91

3-27





                                  แนวทางปรับปรุงแก้ไข เลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนาและไม่มีเศษหิน หรือก้อนหินอยู่

                  บริเวณหน้าดินมาก ท้าเกษตรกรรมแบบวนเกษตรหรือแบบผสมผสาน ไม่ท้าลายไม้พื้นล่าง ขุดหลุมปลูก

                  พร้อมปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 25-50 กิโลกรัมต่อหลุม หรือปุ๋ยคอกอัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อหลุม

                  ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก มีระบบอนุรักษ์ดินและน้้า เช่น ใช้วัสดุคลุมดินหรือปลูกหญ้าแฝก
                  เพื่อรักษาความชื้นและลดการกร่อนของดิน พัฒนาแหล่งน้้าไว้ใช้ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนานหรือพืชขาดน้้า

                  ส้าหรับในพื้นที่ที่มีหินกระจัดกระจายอยู่บนดินมาก ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่า

                  ธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งต้นน้้าล้าธาร

                                   2)  หน่วยที่ดินในกลุ่มที่มีความลาดชันสูง มีเนื้อที่ 128,804 ไร่ หรือร้อยละ 50.63 ของ
                  พื้นที่ลุ่มน้้า ได้แก่  พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (หน่วยที่ดินที่ 62) ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ หรือ

                  เป็นพื้นที่ภูเขา เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม เนื่องจากยากต่อการจัดการและดูแลรักษา ถ้าใช้
                  มาตรการพิเศษในการอนุรักษ์ดินและน้้า ท้าให้เสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และยังเป็นการท้าลายระบบนิเวศ

                  ของป่าอีกด้วย
                                   แนวทางปรับปรุงแก้ไข  ควรรักษาไว้ให้เป็นป่าธรรมชาติ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและ

                  เป็นที่เพาะพันธุ์ของสัตว์ป่า เป็นแหล่งต้นน้้าล้าธาร ถ้ามีความจ้าเป็นต้องน้ามาใช้ประโยชน์ทาง

                  การเกษตร ควรมีการส้ารวจดินและเลือกใช้พืชที่มีศักยภาพในการเกษตร เป็นดินลึกและมีความลาดชัน
                  ไม่สูงมากนัก โดยท้าการเกษตรแบบวนเกษตรและมีระบบอนุรักษ์ดินและน้้าที่เหมาะสมในกรณีที่เป็น

                  พื้นที่นอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย ดังนี้

                                  (1)   ระบบอนุรักษ์ดินและน้้า
                                       วิธีการอนุรักษ์ดินและน้้า คือ วิธีการที่น้ามาใช้ในพื้นที่หนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์

                  เพื่อยับยั้งหรือชะลออัตราการชะล้างพังทลายของดิน โดยอาศัยหลักการส้าคัญ คือ เมื่อฝนตกลงมา

                  ในที่ใดที่หนึ่งจะพยายามให้มีการเก็บกักน้้าไว้ ณ ที่นั้นเพื่อให้น้้าไหลซึมลงไปในดินเป็นประโยชน์

                  แก่พืชที่ปลูก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ (1) วิธีการอนุรักษ์ดินและน้้าโดยใช้ระบบพืช และ (2) วิธีการอนุรักษ์ดิน
                  และน้้าโดยใช้วิธีกล

                                  (2)   วนเกษตร

                                       วนเกษตร เป็นเกษตรกรรมที่น้าเอาหลักการความยั่งยืนถาวรของระบบป่า

                  ธรรมชาติ มาเป็นแนวทางในการท้าการเกษตร ให้ความส้าคัญเป็นอย่างสูงกับการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล
                  และไม้ใช้สอยต่างๆ ให้เป็นองค์ประกอบหลักของไร่นา ผสมผสานกับการปลูกพืชชั้นล่างที่ไม่ต้องการ

                  แสงแดดมาก หรือได้อาศัยร่มเงา และความชื้นจากการที่มีพืชชั้นบนขึ้นปกคลุม รวมทั้งการจัดองค์ประกอบ

                  การผลิตทางการเกษตรให้มีความหลากหลายชนิดของพืชและสัตว์









                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาคลองบ้าบัง
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96