Page 57 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองบำบัง
P. 57

3-9





                                (5)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินตื้นถึงชั้นหินพื้น เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูก

                  เคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัตถุต้นก้าเนิดดินที่มาจากหินเนื้อหยาบ บนบริเวณพื้นที่ดอน

                  บริเวณที่ลาดเชิงเขาต่างๆ เป็นกลุ่มดินตื้น สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา มีการ
                  ระบายน้้าดี เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนเศษหิน เศษหินส่วนใหญ่เป็นพวกเศษหินทรายและควอตซ์ หรือ

                  หินดินดาน สีดินเป็นสีน้้าตาล สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็น

                  กรดจัดมากถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-5.5 ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                  ได้แก่ เป็นดินตื้น มีเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินเป็นปริมาณมาก และดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า บริเวณ
                  ที่มีความลาดชันสูงเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวเป็นป่าดิบชื้น บางแห่ง

                  ใช้ปลูกยางพารา หรือปล่อยทิ้งเป็นป่าละเมาะ แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                    -  หน่วยที่ดินที่ 51 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 144 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.06 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                    - หน่วยที่ดินที่ 51B สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อที่ 4,695 ไร่

                  หรือร้อยละ 1.85 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                -  หน่วยที่ดินที่ 51Bb สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีการปั้นคันนา
                  เพื่อปลูกข้าว มีเนื้อที่ 240 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                    - หน่วยที่ดินที่ 51C สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด มีเนื้อที่ 8,509 ไร่ หรือร้อยละ

                  3.34 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                -  หน่วยที่ดินที่ 51D สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน มีเนื้อที่ 3,959 ไร่ หรือร้อยละ

                  1.56 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่ 51E สภาพพื้นที่เป็นเนินเขา มีเนื้อที่ 1,156 ไร่ หรือร้อยละ 0.46
                  ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                (6)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินเหนียวลึกปานกลางถึงชั้นหินพื้น เกิดจากการสลายตัวผุพัง

                  อยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัตถุต้นก้าเนิดดินที่มาจากหินเนื้อละเอียด

                  บนบริเวณพื้นที่ดอน ที่เป็นพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นกลุ่มดินลึกปานกลาง
                  มีการระบายน้้าดี เนื้อดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว ส่วนดินล่างในระดับความลึก

                  ระหว่าง 50-100 เซนติเมตร เป็นดินลูกรังหรือดินปนเศษหินผุ ซึ่งเป็นพวกหินดินดาน สีดินเป็นสีน้้าตาลอ่อน

                  สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด มี
                  ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-5.5 ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินชั้นล่างมี

                  ลูกรังหรือเศษหินปะปนอยู่เป็นปริมาณมากท้าให้การปลูกพืชรากลึกอาจมีปัญหาและดินมีความอุดม









                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาคลองบ้าบัง
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62