Page 52 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองบำบัง
P. 52

3-4





                                - หน่วยที่ดินที่ 17MI สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง

                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช และมีระบบชลประทาน มีเนื้อที่ 186 ไร่ หรือร้อยละ 0.07 ของพื้นที่

                  ลุ่มน้้าสาขา
                            (5)   กลุ่มชุดดินที่เป็นดินร่วนระเอียดลึกมาก  เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพัง

                  อยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อหยาบ หรือจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวก

                  ตะกอนล้าน้้า มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีน้้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นกลุ่มดินลึกที่มี

                  การระบายน้้าส่วนใหญ่ค่อนข้างเลว เนื้อดินบนเป็นพวกดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน ดินล่างเป็น
                  ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียวมีสีน้้าตาลอ่อนถึงสีเทา พบจุดประพวกสีน้้าตาล สีเหลือง

                  หรือสีแดงปะปน บางแห่งอาจพบศิลาแลงอ่อนหรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีสในดิน

                  ชั้นล่าง  ดินมีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่้า ดินชั้นบนมักมีปฏิกิริยาเป็นกรดจัดมากถึงกรด

                  ปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-6.0 ส่วนดินชั้นล่างจะเป็นกรดน้อยกว่า มีค่าความเป็นกรด
                  เป็นด่างประมาณ 6.0-7.5 ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า และมี

                  เนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทราย พืชมีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้้า แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                   - หน่วยที่ดินที่  18 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 138 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 0.05 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                              - หน่วยที่ดินที่  18I สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีระบบชลประทาน

                  มีเนื้อที่ 1,531 ไร่ หรือร้อยละ 0.60 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                   - หน่วยที่ดินที่  18MI สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง

                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช และมีระบบชลประทาน มีเนื้อที่ 289 ไร่ หรือร้อยละ 0.11ของพื้นที่

                  ลุ่มน้้าสาขา
                                (6)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินตื้น เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูก

                  เคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อหยาบ หรือจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวกตะกอนล้าน้้า

                  ทับอยู่บนชั้นหินผุ มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีน้้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นกลุ่มดินตื้น

                  ที่มีการระบายน้้าค่อนข้างเลว มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทราย ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวหรือ
                  ดินร่วนปนดินเหนียวที่มีกรวดหรือลูกรังปะปนเป็นปริมาณมาก สีน้้าตาลอ่อนถึงสีเทา และพบจุดประ

                  พวกสีน้้าตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปน หรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีสในดินชั้นล่าง

                  ใต้ชั้นลูกรังอาจพบชั้นดินเหนียวที่มีศิลาเเลงอ่อนปะปน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้ามาก
                  มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5  ปัจจุบันบริเวณ

                  ดังกล่าวใช้ท้านา บางแห่งเป็นป่าละเมาะหรือป่าเต็งรัง แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ









                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57