Page 120 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองบำบัง
P. 120

3-52






                  3.2  การประเมินคุณภาพที่ดิน

                        การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพเป็นการวิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยที่ดินต่อการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินมี

                  หลายวิธี กลุ่มวางแผนทรัพยากรน้้าเพื่อการพัฒนาที่ดินได้เลือกใช้วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินตาม

                  หลักการของ FAO Framework ซึ่งมีจ้านวน 2 รูปแบบ คือ
                           1)  การประเมินทางด้านคุณภาพ เป็นการประเมินเชิงกายภาพว่าที่ดินนั้นๆ มีความเหมาะสมมาก

                  หรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ

                           2)  การประเมินทางด้านปริมาณหรือเศรษฐกิจ ซึ่งจะให้ค่าตอบแทนในรูปผลผลิตที่ได้รับ
                  จ้านวนเงินในการลงทุนและจ้านวนเงินจากผลตอบแทนที่ได้รับ

                            3.2.1  การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ

                                การศึกษาได้ด้าเนินการประเมินคุณภาพที่ดินทางกายภาพเพียงด้านเดียว โดย

                  ศึกษาการประเมินคุณภาพดินร่วมกับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้ก้าหนดเป็นตัวแทนการ
                  เกษตรกรรมหลักในลุ่มน้้าสาขา รวมทั้งยังได้ประเมินคุณภาพที่ดินจากพืชที่ควรแนะน้าในลุ่มน้้าสาขา

                  คลองบ้าบัง การวิเคราะห์ได้ค้านึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละด้านของดินที่

                  แตกต่างกัน โดยอาศัยคุณลักษณะดินแตกต่างกันไปตามวัตถุต้นก้าเนิดของดิน ซึ่งคุณลักษณะ

                  ที่ดินที่ใช้ในการแสดงค่าเพื่อวัดระดับการเจริญเติบโตแตกต่างกัน
                                   การเลือกคุณลักษณะที่ดินเพื่อใช้เป็นตัวแทนคุณภาพที่ดินในการประเมินความเหมาะสม

                  ที่ดินตามระบบ FAO  ก้าหนดในระบบไว้ 25 ชนิด ส้าหรับประเทศไทยใช้คุณลักษณะดินเพื่อใช้เป็น

                  ตัวแทนคุณภาพที่ดินในการประเมินความเหมาะสมที่ดิน 13 ชนิด โดยตัวแทนคุณภาพที่ดินแต่ละตัว
                  มีข้อจ้ากัดในการเลือกใช้จากปัจจัยด้าน 1) มีผลต่อพืชหรือประเภทการใช้ที่ดินนั้นๆ 2) พบค่าวิกฤต

                  ในพื้นที่ปลูกนั้นๆ 3) การรวบรวมข้อมูลต้องสามารถปฏิบัติได้จริงจากเงื่อนไขดังกล่าว จ้าเป็นต้องจัดล้าดับ

                  ความส้าคัญคุณภาพที่ดินก่อนที่จะน้ามาประเมิน ตามเงื่อนไขการคัดเลือกคุณภาพที่ดิน
                                เมื่อท้าการจัดล้าดับความส้าคัญแล้วพบว่า เงื่อนไขหลักขึ้นอยู่กับการรวบรวม

                  ข้อมูลคุณลักษณะที่ดิน ดังนั้นเมื่อน้ามาใช้ในการประเมินความเหมาะสมทางกายภาพของพืชต่างๆ ใน

                  เขตลุ่มน้้าสาขา จึงมีปัจจัยหลัก 7 ปัจจัย ที่น้ามาวิเคราะห์ ดังนี้
                                   1)  ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m)

                                   2)  ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (o)

                                   3)  ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s)

                                 4)  ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n)
                                   5)  สภาวะการหยั่งลึกของราก (r)






                                                                                                                                                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125