Page 118 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองบำบัง
P. 118

3-50





                                1.3) ยางพารา เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกยางพาราสายพันธุ์ RRIM 600 ปลูกในช่วงต้น

                  ฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤษภาคม มีวิธีการปลูกแบบขุดหลุมปลูก หลุมมีขนาด

                  50  x  50  x  50 เซนติเมตร มีระยะระหว่างต้น 2.5 เมตร ระยะระหว่างแถว 7-8 เมตร มีปริมาณ 80-91 ต้น/ไร่

                  วิธีการดูแลรักษามีการใส่ปุ๋ยด้วยกัน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ใส่ปุ๋ย
                  สูตร  16-11-14 ครั้งที่ 2  ปลายฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคมใส่ปุ๋ยสูตร 16-11-14  มีอัตราการใช้ต้นละ

                  ประมาณ  500-600 กรัม/ไร่  ยางพาราสามารถเปิดกรีดได้ เมื่ออายุประมาณ 7  ปี เปิดหน้ายางช่วง

                  เดือนตุลาคมเป็นต้นไป นิยมใช้แรงงานคนเป็นหลักในการเก็บเกี่ยว ผลผลิตเฉลี่ย 200-300 กิโลกรัม/ไร่

                                1.4)  ไม้ผลผสม เกษตรกรนิยมปลูกไม้ผลผสมในพื้นที่เดียวกันโดยส่วนใหญ่นิยม
                  ปลูก เงาะ ลองกอง ทุเรียน โดยขุดหลุมปลูกขนาดของหลุม กว้าง-ยาว-ลึก ประมาณ 50-100 เซนติเมตร

                  แล้วน้าต้นกล้าลงปลูกในฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน แล้วใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา

                  3 กิโลกรัม/ไร่ เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต ประมาณช่วงเมษายนเป็นต้นไป ผลผลิตเฉลี่ย 800-1,000 กิโลกรัม/ไร่
                             2)  ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเกษตรชลประทาน สามารถคัดเลือกประเภท

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินได้ดังนี้

                              2.1    ข้าวนาปี  เกษตรกรนิยมปลูกข้าวพันธุ์เล็บนกปัตตานี พันธุ์เข็มทอง มีการปลูก
                  แบบนาด้า มีการเตรียมดินเพื่อท้าแปลงกล้าเป็นระยะเวลา 30 วัน ในช่วงเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้น

                  ท้าการไถดะ ไถแปร คราดเพื่อท้าเทือก และท้าการปักด้าในเดือนสิงหาคม มีการจัดการโดยใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง

                  ครั้งแรกรองพื้นที่ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยก่อนข้าวออกรวงใช้

                  ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่  เก็บเกี่ยวช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ใช้แรงงานคนเป็นหลัก
                  ผลผลิตประมาณ 350-450 กิโลกรัม/ไร่

                                2.2  ยางพารา เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกยางพาราสายพันธุ์ RRIM  600 ปลูก

                  ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤษภาคม มีวิธีการปลูกแบบขุดหลุมปลูก หลุมมี

                  ขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร มีระยะระหว่างต้น 2.5 เมตร ระยะระหว่างแถว 7-8 เมตร มีปริมาณ
                  80-91 ต้น/ไร่ วิธีการดูแลรักษามีการใส่ปุ๋ยด้วยกัน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝนประมาณเดือนเมษายน ใส่

                  ปุ๋ยสูตร 16-11-14 ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคม ใส่ปุ๋ยสูตร 16-11-14 มีอัตราการใช้ต้นละ

                  ประมาณ 500-600 กรัม/ไร่ ยางพาราสามารถเปิดกรีดได้ เมื่ออายุประมาณ 7 ปี เปิดหน้ายางช่วงเดือน
                  ตุลาคมเป็นต้นไป นิยมใช้แรงงานคนเป็นหลักในการเก็บเกี่ยว ผลผลิตเฉลี่ย 200-300 กิโลกรัม/ไร่

                                2.3 ปาล์มน้ ามัน เกษตรกรนิยมปลูก ปาล์มน้้ามัน สายพันธุ์ลูกผสม และพันธุ์พื้นเมือง โดย

                  ท้าการเพาะกล้า ให้ต้นกล้าที่ใช้ปลูกมีอายุที่เหมาะสมคือ 10 -12 เดือน แล้วน้ามาปลูกลงแปลงที่ท้าการ
                  เตรียมดินเรียบร้อยแล้ว ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดขนาดของหลุม 45 x 45 x 35 มีระยะ 9 เมตร วิธีการ

                  ขุดหลุมดินชั้นบน  และชั้นล่างแยกกัน และตากหลุมไว้ประมาณ 10  วัน  เริ่มปลูกช่วงฤดูฝน






                                                                                                                                                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123