Page 108 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองบำบัง
P. 108

3-40





                  เกิดปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายขึ้น ทางระบายน้้านี้อาจสร้างขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงจากร่องน้้า

                  ธรรมชาติก็ได้

                                         (2.8)  บ่อน้้าในไร่นา (Farm pond) ช่วยในการเก็บกักน้้าที่ไหลบ่ามาตามหน้าดิน
                  รวมทั้งตะกอนที่ถูกชะล้างไว้เป็นช่วงๆ ไม่ให้เกิดผลเสียหายรุนแรงแก่พื้นที่เพาะปลูก ตลอดจนแหล่งน้้า

                  อื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นการเก็บกักน้้าไว้ในช่วงที่จ้าเป็นอีกด้วย

                                 2)  พื้นที่ดินตื้น มีเนื้อที่ 34,102 ไร่ หรือร้อยละ 13.41 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา เกิดจากการ

                  สลายตัวของหินกรวดเนื้อละเอียด ที่ส่วนใหญ่เป็นพวกหินตะกอนเนื้อหยาบ คือ หินทราย
                  หินกรวดมน แตกกระจัดกระจายร่วงหล่นออกมาทับถมเกะกะอยู่บริเวณเชิงเขา หรือเป็นผลจาก

                  กระบวนการทางดินที่ท้าให้เกิดการสะสมปูนมาร์ลหรือศิลาแลงในดิน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
                                   (1)   ดินตื้นที่มีการระบายน้้าเลว พบในบริเวณที่ราบต่้าที่มีน้้าขังในช่วงฤดูฝน

                  แสดงว่าดินมีการระบายน้้าค่อนข้างเลว ขุดลงไปจากผิวดินที่ระดับความลึก 25-50 เซนติเมตร มีกรวด

                  หรือลูกรังปนอยู่ในเนื้อดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ถ้าขุดลึกลงมาถัดไปจะเป็นชั้นดินที่มี
                  ศิลาแลงอ่อนปนทับอยู่บนชั้นหินผุ

                                   (2)   ดินตื้นปนลูกรังหรือกรวดที่มีการระบายน้้าดี และที่ดินหินโผล่ พบตามพื้นที่
                  ลอนลาดหรือเนินเขา ตั้งแต่บริเวณผิวดินลงไปมีลูกรังหรือหินกรวดมนปะปนอยู่ในดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์

                  โดยปริมาตร และดินประเภทนี้บางแห่งก็มีก้อนลูกรังหรือศิลาแดงโผล่กระจัดกระจายทั่วไปที่บริเวณ
                  ผิวดิน

                                   (3)   ดินตื้นปนหินมีการระบายน้้าดี พบตามพื้นที่ลอนลาดหรือบริเวณเนินภูเขา
                  ดินประเภทนี้เมื่อขุดลงไปที่ความลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร จะพบเศษหินแตกชิ้นน้อยใหญ่ปะปน

                  อยู่ในเนื้อดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร บางแห่งพบหินผุหรือหินแข็งปะปนอยู่กับเศษหิน
                  บางแห่งมีก้อนหินและหินโผล่กระจัดกระจายทั่วไปตามหน้าดิน

                                   (4)   ดินตื้นปนปูนมาร์ล พบตามพื้นที่ลาดถึงพื้นที่ลอนลาด หรือบริเวณที่ลาดเชิงเขา

                  เมื่อขุดลงไปในระดับความลึกที่ 20-50 เซนติเมตร จะพบสารประกอบจ้าพวกแคลเซียมหรือ
                  แมกนีเซียมคาร์บอเนตปนอยู่ ท้าให้ดินประเภทนี้จัดว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่มีข้อเสียคือ

                  มีปฏิกิริยาเป็นด่าง เป็นข้อจ้ากัดต่อพืชบางชนิดที่ไวต่อความเป็นด่าง เช่น สับปะรด
                                   ปัญหาดินตื้น เป็นดินที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกเพราะมีปริมาณชิ้นส่วนหยาบ

                  ปนอยู่ในดินมากท้าให้มีเนื้อดินน้อย มีธาตุอาหารน้อย ไม่อุ้มน้้า ชั้นล่างของดินชนิดนี้จะแน่นทึบรากพืช
                  ชอนไชไปได้ยาก พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างปกติควรมีการปรับปรุงระดับความอุดมสมบูรณ์

                  ของดิน
                                3)  พื้นที่จากสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่เป็นไม้พุ่มและทุ่งหญ้าตามธรรมชาติ

                  มีเนื้อที่ 1,355 ไร่ ถ้าเป็นที่สาธารณประโยชน์ ควรปรับปรุงให้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เพื่อเกษตรกร







                                                                                                                                                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113