Page 54 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองปะเหลียน
P. 54

3-5





                  ทับอยู่บนชั้นหินผุ ในบริเวณที่ราบลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีน้้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน

                  เป็นดินตื้นที่มีการระบายน้้าค่อนข้างเลว มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทราย ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเหนียว

                  หรือดินร่วนปนดินเหนียวที่มีกรวดหรือลูกรังปะปนเป็นปริมาณมาก สีน้้าตาลอ่อนถึงสีเทา และพบจุดประ
                  พวกสีน้้าตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปน หรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีสในดินชั้นล่าง

                  ใต้ชั้นลูกรังอาจพบชั้นดินเหนียวที่มีศิลาเเลงอ่อนปะปน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้ามาก

                  มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5  ปัจจุบันบริเวณ

                  ดังกล่าวใช้ท้านา บางแห่งเป็นป่าละเมาะหรือป่าเต็งรัง แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ
                         -            หน่วยที่ดินที่  25 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 2,307 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.35 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่  25M สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง

                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช มีเนื้อที่ 3,248 ไร่ หรือร้อยละ 0.50 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                (8)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินร่วนที่เกิดจากดินตะกอนน้้าพาเชิงซ้อน กลุ่มดินนี้พบ

                  บริเวณที่ราบลุ่มหรือบริเวณพื้นล่างของเนิน หรือหุบเขา มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ

                  เกิดจากตะกอนล้าน้้าพัดพามาทับถมกัน มีการผสมกันของตะกอนหลายชนิด ดินที่พบส่วนใหญ่มี
                  การระบายน้้าค่อนข้างเลวถึงเลว มีลักษณะและสมบัติต่างๆ เช่น เนื้อดิน สีดิน ความลึกของดิน

                  ปฏิกิริยาดิน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุต้นก้าเนิด

                  ดินในบริเวณนั้นๆ ส่วนมากมีก้อนกรวดและเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินด้วย เนื่องจากหน่วยแผนที่นี้
                  เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิด ดังนั้นในแผนที่ดินระดับจังหวัด จึงเรียกว่าเป็นพวกดินตะกอนล้าน้้า

                  ที่มีการระบายน้้าเลวปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ประโยชน์ในการท้านา ส่วนในฤดูแล้ง ถ้ามีแหล่งน้้า

                  นิยมใช้ปลูกพืชผัก แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ
                         -            หน่วยที่ดินที่  59 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 46 ไร่ หรือ

                  ร้อยละ 0.01 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่  59M สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง

                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช มีเนื้อที่ 41 ไร่ หรือร้อยละ 0.01 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                             2)  ดินในพื้นที่ดอน ประกอบด้วยหน่วยที่ดินต่างๆ ดังนี้

                                (1) กลุ่มชุดดินที่เป็นดินเหนียวลึกมากที่เกิดจากตะกอนล้าน้้าหรือวัตถุต้นก้าเนินดิน

                  เนื้อละเอียด เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ของหินต้นก้าเนิดชนิดต่างๆ แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาใน
                  ระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อละเอียดซึ่งมีทั้งหินอัคนี หินตะกอน หรือหินแปร หรือเกิดจากวัตถุ

                  ต้นก้าเนิดดินพวกตะกอนล้าน้้า ในบริเวณพื้นที่ดอน มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ

                  ถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินลึกมากที่มีการระบายน้้าดี เนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว





                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาคลองปะเหลียน
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59