Page 53 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองปะเหลียน
P. 53

3-4





                                    - หน่วยที่ดินที่ 14M สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง

                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช มีเนื้อที่ 354 ไร่ หรือร้อยละ 0.05 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                (5)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินร่วนละเอียดลึกมาก เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุต้นก้าเนิดดิน
                  พวกตะกอนล้าน้้า และ/หรือการสลายตัวผุพังอยู่กับที่แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของ

                  หินเนื้อหยาบ ในบริเวณที่ราบลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีน้้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน

                  เป็นดินลึกที่มีการระบายน้้าค่อนข้างเลว เนื้อดินบนเป็นพวกดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน ดินล่างเป็น

                  ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีสีน้้าตาลอ่อนถึงสีเทา พบจุดประพวกสีน้้าตาล สีเหลือง
                  หรือสีแดงปะปน บางแห่งอาจพบศิลาแลงอ่อนหรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีสในดิน

                  ชั้นล่าง  ดินมีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด มีค่าความเป็น

                  กรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5  ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ท้านา หรือไม้ยืนต้น แต่มีปัญหา

                  เรื่องการแช่ขังของน้้าในฤดูฝน แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ
                         -            หน่วยที่ดินที่  17 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 1,763 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.27 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่  17M สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง
                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช มีเนื้อที่ 979 ไร่ หรือร้อยละ 0.15 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                (6)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินทรายลึกมาก เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุก้าเนิดดินพวก

                  ตะกอนน้้าทะเล หรือวัตถุต้นก้าเนิดดินพวกตะกอนล้าน้้าที่ได้รับอิทธิพลของน้้าทะเล ในบริเวณที่ลุ่ม
                  ระหว่างสันหาดหรือเนินชายฝั่งทะเล บริเวณที่ราบลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ

                  มีน้้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นดินลึกที่มีการระบายน้้าค่อนข้างเลวถึงเลว เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน

                  หรือดินร่วนปนทราย สีดินเป็นสีเทา พบจุดประสีน้้าตาล สีเหลือง บางแห่งมีเปลือกหอยปะปนอยู่ใน
                  เนื้อดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง มีค่าความ

                  เป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-7.0  แต่ถ้ามีเปลือกหอยปะปนอยู่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างจะอยู่

                  ประมาณ 7.0-8.5 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวเป็นที่ลุ่ม ส่วนใหญ่ใช้ท้านา บางแห่งทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า

                  มีวัชพืชต่างๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ
                         -            หน่วยที่ดินที่  23 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 1,660 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.25 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่  23M สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง
                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช มีเนื้อที่ 790ไร่ หรือร้อยละ 0.12 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                (7)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินตื้น เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูก

                  เคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อหยาบ หรือจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวกตะกอนล้าน้้า






                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58