Page 20 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองปะเหลียน
P. 20
2-6
4) ความชื้นสัมพัทธ์และศักยภาพการคายระเหยน้้า
พื้นที่ลุ่มน้้าสาขาคลองปะเหลียนพบว่า มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 81.92 เปอร์เซ็นต์
ปริมาณการคายระเหยเฉลี่ยตลอดปี 68.31 มิลลิเมตร ปริมาณการคายระเหยสูงสุด 73.47 มิลลิเมตรใน
เดือนพฤษภาคม ปริมาณการคายระเหยต่้าสุด 60.76 มิลลิเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์
5) การวิเคราะห์ช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมส้าหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์ช่วงฤดูเพาะปลูกพืชเพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืชโดยใช้ข้อมูล
ปริมาณน้้าฝนเฉลี่ย และค่าศักยภาพการคายระเหยน้้าของพืชรายเดือนเฉลี่ย (Evapotranspiration : ETo)
ซึ่งค้านวณและพิจารณาจากระยะเวลาช่วงที่เส้นน้้าฝนอยู่เหนือเส้น 0.5 ETo ถือเป็นช่วงระยะเวลา
ที่เหมาะสมในการปลูกพืช จากการวิเคราะห์ช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ
ลุ่มน้้าสาขาคลองปะเหลียน สามารถสรุปได้ดังนี้
(1) ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช เป็นช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ
ต่อการปลูกพืช ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนปกติอยู่ในช่วงระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงปลายเดือนมกราคม
ของปีถัดไปซึ่งในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์นั้น เป็นช่วงที่มีปริมาณน้้าฝนเพียงเล็กน้อยแต่เนื่องจาก
มีปริมาณน้้าที่สะสมไว้ในดิน จึงมีความชื้นในดินเพียงพอส้าหรับปลูกพืชอายุสั้นได้ แต่ควรมี
การวางแผนจัดการระบบการเพาะปลูกให้เหมาะสมส้าหรับพื้นที่เพาะปลูกแต่ละแห่ง เนื่องจาก
อาจต้องอาศัยน้้าจากแหล่งน้้าในไร่นาหรือน้้าชลประทานช่วยในการเพาะปลูกบ้าง
(2) ช่วงระยะเวลาที่มีน้้ามากเกินพอ เป็นช่วงที่ดินมีความชื้นสูงและมีฝนตกชุก
อยู่ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมกราคม
(3) ช่วงระยะเวลาที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชโดยอาศัยน้้าฝน เนื่องจากมีปริมาณฝน
และการกระจายของฝนน้อย ท้าให้ดินมีความชื้นไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชอยู่ในช่วง
ระหว่างสิ้นเดือนมกราคมกลางเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวถ้าพื้นที่เพาะปลูกแห่งใด
มีการจัดการระบบชลประทานที่ดีก็สามารถปลูกพืชฤดูแล้งได้
กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน