Page 19 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองปะเหลียน
P. 19

2-5





                  2.4   สภาพภูมิอากาศ

                        สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปในลุ่มน้้าสาขาคลองปะเหลียนมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุม

                  ในเขตร้อน (Tropical monsoon Climate) ในรอบปีหนึ่งๆ สามารถแบ่งได้ 2 ฤดู ดังนี้

                            ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีอากาศร้อนอบอ้าวและแห้งแล้ง
                  โดยจะร้อนสุดในช่วงเดือนเมษายนประมาณ 35.0 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิเฉลี่ยเดือนเมษายน

                  ประมาณ 28.40 องศาเซลเซียส

                            ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยตกหนักถึงหนักมากใน
                  บางครั้ง มีปริมาณน้้าฝนประมาณ 2,174.40 มิลลิเมตรต่อปี

                            จากการรวบรวมข้อมูลภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ณ สถานีตรวจวัดอากาศจังหวัดตรัง

                  ในรอบ 10 ปี (ช่วงปี พ.ศ. 2547-2556) ดังตารางที่ 2-2 ประกอบด้วย อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่้าสุด

                  อุณหภูมิเฉลี่ย ปริมาณน้้าฝน น้้าฝนใช้การได้ ความชื้นสัมพัทธ์ ศักยภาพการคายระเหยน้้า อธิบายได้ดังนี้
                             1)  อุณหภูมิ

                                พื้นที่ลุ่มน้้าสาขาคลองปะเหลียน มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.41 องศาเซลเซียส มีค่าเฉลี่ย

                  สูงสุด 28.40 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และค่าเฉลี่ยต่้าสุด 26.50 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม
                             2)  ปริมาณน้้าฝน

                                พื้นที่ลุ่มน้้าสาขาคลองปะเหลียนมีปริมาณน้้าฝน 2,174.40 มิลลิเมตร โดยในเดือน

                  กันยายน มีปริมาณน้้าฝนมากที่สุด 246.80 มิลลิเมตร และเดือนกุมภาพันธ์มีปริมาณน้้าฝนน้อยที่สุด
                  คือ 29.30 มิลลิเมตร

                             3)  ปริมาณน้้าฝนใช้การได้ (Effective Rainfall : ER)

                                ปริมาณน้้าฝนใช้การได้ คือ ปริมาณน้้าฝนที่เหลืออยู่ในดิน ซึ่งพืชสามารถน้าไปใช้
                  ประโยชน์ได้ภายหลังจากมีการไหลซึมลงไปในดินจนดินอิ่มตัวด้วยน้้าแล้วไหลบ่าออกมากักเก็บใน

                  พื้นดินลุ่มน้้าสาขาคลองปะเหลียน มีปริมาณน้้าฝนใช้การได้ 1,424.40 มิลลิเมตร เดือนกรกฎาคม

                  มีปริมาณน้้าฝนใช้การได้มากที่สุด 153.70 มิลลิเมตร และเดือนกุมภาพันธ์ มีปริมาณน้้าฝนใช้การได้

                  น้อยที่สุด คือ 27.90 มิลลิเมตร






















                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาคลองปะเหลียน
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24