Page 118 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองปะเหลียน
P. 118

3-50






                          3.1.2.3 น้ าใต้ดิน

                                  ก)   แหล่งน้ าใต้ดิน จากข้อมูลธรณีสัณฐานมาตราส่วน 1:1,000,000

                   กรมทรัพยากรธรณี (2556) น้ามาวิเคราะห์ชั้นน้้าที่พบในลุ่มน้้าสาขาคลองปะเหลียน รายละเอียดดังนี้

                                    (1) ชั้นหินอุ้มน้ าตะกอนน้ าพา (Floodplain  Deposits  Aquifers  :  Qfd)
                  ประกอบด้วยกรวดทรายทรายแป้งและดินเหนียวโดยชั้นน้้าบาดาลจะเก็บอยู่ในช่องระหว่างเม็ดกรวดและ

                  เม็ดทรายที่สะสมตัวอยู่ในที่ราบลุ่มน้้าหลากหรือร่องน้้าเก่า ให้น้้าประมาณ 2–10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง

                  ที่ระดับความลึกประมาณ 10-40 เมตร คุณภาพน้้าดี
                                    (2) ชั้นหินอุ้มน้ าตะกอนเศษหินเชิงเขา  (Colluvium  Aquifers  :  Qcl)

                  ประกอบด้วย ดินเหนียวปนทรายคลุกเคล้าปะปนด้วยเศษหินแตก (rock  fragments)  ที่มีลักษณะเป็น                                                      3-50

                  เหลี่ยมขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงเล็กไม่มีการจัดคัดขนาดของเม็ดตะกอน ปริมาณน้้า
                  อยู่ในเกณฑ์ระหว่าง 2-5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง


                                    (3) ชั้นหินอุ้มน้ าชุดดินโคราชตอนบน (Upper    Khorat    Aquifers  :  Kuk)
                  ประกอบด้วยหินทราย หินทรายแป้ง และหินดินดาน ซึ่งน้้าบาดาลถูกกักเก็บอยู่ภายในรอยแตก รอยแยก

                  รอยเลื่อน รอยต่อระหว่างชั้นและบริเวณที่หินผุ ความลึกของชั้นน้้าบาดาลโดยเฉลี่ย 20-50 เมตร
                  ปริมาณน้้าที่ได้อยู่ในเกณฑ์ 2-10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางธรณีวิทยา

                  คุณภาพน้้าอยู่ในเกณฑ์ดี

                                    (4) ชั้นหินปูนชุดออร์โดวิเชียน (Ordovicion Limestone Aquifer : Ols)  เป็น

                  หินปูนชั้นบางๆ สีเทาถึงเทาด้า เนื้อหินมีการตกผนึกใหม่ (Recrystallized) มีเนื้อดินปน และมี
                  หินดินดานแทรกสลับอยู่ในช่วงล่างน้้าบาดาลถูกกักเก็บอยู่ภายใต้รอยแตก รอยเลื่อน รอยต่อระหว่าง

                  ชั้นหิน และโพรงหรือถ้้าในชั้นหินความลึกถึงชั้นน้้าบาดาลโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 30-70 เมตร ให้น้้าน้อย

                  ไม่เกิน 2 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
                                    (5) ชั้นหินอุ้มน้ าหินกึ่งแปรอายุไซบีเรียน-ดิโลเนียน (Silurian-Devonian Meta-

                  sediments Aquifer: SDms) ประกอบด้วยหินชั้นกึ่งแปรได้แก่ หินทราย หินทรายแปง หินดินดาน และ

                  หินโคลน น้้าบาดาลได้จากรอยแยกรอยแตกและรอยต่อระหว่างชั้นหิน ความลึกเฉลี่ยถึงชั้นน้้าบาดาล
                  ประมาณ 6-50 เมตร ให้น้้าในเกณฑ์เฉลี่ย 0-2 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง

                                    (6) ชั้นหินอุ้มน้ าหินแกรนิต (Granitic Aquifers : Gr)ประกอบด้วยหินอัคนี

                  แทรกซอนชนิดฮอร์นเบลนด์แกรนิต หินมัสโคไวต์ และไบโอไทต์แกรนิต เป็นหินเนื้อแน่นได้น้้า  2 – 4

                  ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง จากแนวรอยแตกที่ความลึก 30 เมตร








                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123