Page 111 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 111

3-37





                                ส้าหรับค่าปัจจัยสมรรถนะการชะล้างพังทลายของดิน (K)  ค่าปัจจัยเกี่ยวกับภูมิประเทศ

                  ได้แก่ ความยาว (L)  และระดับความลาดชัน (S)  ค่าปัจจัยเกี่ยวกับฝน (R) ค่าปัจจัยการจัดการพืชและพืช

                  พรรณที่ปกคลุมดิน (C) และปัจจัยการอนุรักษ์ดินและน้้า (P) ตามสภาพการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่ง
                  ตะวันตกตอนล่างใช้การแทนค่าปัจจัยต่างๆ ในโปรแกรม Arc  GISโดยอ้างอิงค่าปัจจัยต่างๆ จากเอกสารของ

                  กรมพัฒนาที่ดิน (2545) ในการวิเคราะห์หาค่าอัตราการชะล้างพังทลายของดินโดยใช้สมการการสูญเสียดิน

                  สากล ซึ่งรายละเอียดต่างๆ มีดังนี้

                                1)  ค่าปัจจัยเกี่ยวกับฝน (R) การประเมินค่าปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน ใช้เส้นชั้นน้้าฝน
                  รายปีเฉลี่ย (มิลลิเมตร) ของกรมอุตุนิยมวิทยามาค้านวณหาค่า R จากสูตร

                                             R  =   0.4996X – 12.1415

                                โดยที่    X        คือ ปริมาณน้้าฝนเฉลี่ยรายปี (มิลลิเมตร/ปี)

                                  จากสูตรค่า R ที่ได้จะมีหน่วยเป็นตันต่อเฮกแตร์ต่อปี ท้าการแปลงเป็นหน่วยตันต่อไร่
                  ต่อปี โดยน้าค่าตัวเลข 6.25 ไปหาร

                                2)  ค่าปัจจัยความคงทนของดินต่อการชะล้างพังทลาย (K)  ใช้ชนิดของเนื้อดินบน

                  และหน่วยธรณีวิทยา (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) รายละเอียดต่างๆ แสดงในตารางที่ 3-5
                            3)  ค่าปัจจัยเกี่ยวกับภูมิประเทศ ได้แก่ ความยาว (L)  และระดับความลาดชัน (S)

                  ใช้ค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ของหน่วยที่ดิน รายละเอียดต่างๆ แสดงในตารางที่ 3-4 (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545)

                                4)  ค่าปัจจัยเกี่ยวกับพืช (C)  ใช้ค่าตัวเลขจากหนังสือแนวทางการประเมินอัตราชะล้าง
                  พังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้้าประเทศไทย (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) รายละเอียดต่างๆ แสดงในตารางที่ 3-6

                                5)  ปัจจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินและน้้า (P) ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ให้มีค่าเท่ากับ 1 ยกเว้น

                  พื้นที่ท้านาข้าวให้มีค่าเท่ากับ 0.100 รายละเอียดต่างๆ แสดงในตารางที่ 3-6 (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545)

                  ตารางที่  3-4    ค่าปัจจัยรวม LS-factor ของชั้นความลาดชันตามแผนที่หน่วยที่ดิน

                      ชั้นความลาดชัน      เปอร์เซ็นต์ความลาดชัน   ค่าความยาวของความลาดเท     ค่าปัจจัยรวม

                    ตามแผนที่หน่วยที่ดิน         (ค่า s)            (ค่า  หน่วยเป็นเมตร)    LS - factor
                   A                              1.2                       150                 0.226

                   B                              2.0                       150                 0.323
                   C                              5.0                       100                 0.567

                   D                              12.0                      50                  1.927
                   E                              20.0                      50                  2.753

                   F (กลุ่มดิน 62)                35.0                      50                  4.571
                  ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2545)





                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116