Page 109 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 109

3-35





                  ชนิดหนึ่งปกคลุมอยู่กับพื้นที่ที่ถูกไถพรวนปราศจากพืชคลุมดิน ซึ่งใช้ในการหาค่าความคงทนต่อ

                  การถูกชะล้างพังทลายของดิน

                            P  เป็นค่าปัจจัยการปฏิบัติเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย (conservation practice) เป็นค่าที่
                  ไม่มีขนาดหรือหน่วยค่า P เป็นค่าที่แสดงความหมายถึงอัตราส่วนระหว่างการสูญเสียดินจากพื้นที่ที่มี

                  การอนุรักษ์แบบต่างๆ เช่น ท้าแนวคันดิน (contouring) การปลูกพืชเป็นแถบ (strip cropping) หรือการท้า

                  ขั้นบันได (terracing) กับการไถพรวนเพาะปลูกขึ้นลงตามความลาดเท

                             การประเมินค่าปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสมการการสูญเสียดินสากล มีดังต่อไปนี้
                             ในการค้านวณค่าปัจจัยความยาวและความลาดชันของพื้นที่ (LS) ค้านวณตามชั้นความลาดชัน

                  ของหน่วยที่ดิน ซึ่งจากเอกสารอ้างอิงของกรมพัฒนาที่ดิน (2545) ได้อธิบายที่มาของ ค่าตัวแปรต่างๆ ดังนี้

                          L  =   ( / 22.13) m

                          L  คือ   ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเท ในสมการการสูญเสียดินสากล

                            คือ   ระยะทางตามแนวราบของพื้นที่ลาดชัน นับจากจุดเริ่มมีน้้าไหลเอ่อผิวดิน
                  ถึงจุดที่ความลาดชันเปลี่ยนลดลงจนเกิดการทับถมของตะกอน หรือจุดที่มีการรวมตัวของน้้าเป็นร่อง

                  มีหน่วยเป็นเมตร ซึ่งควรมีระยะทางไม่เกิน 400 ฟุต (ประมาณ 120 เมตร) หรือถ้าพื้นที่นั้นใช้รถไถพรวน

                  เป็นร่องยาว ค่านี้อาจยาวได้ถึง 1,000 ฟุต (ประมาณ 300 เมตร)
                             22.13 คือ   ความยาวของแปลงทดลองมาตรฐาน หน่วยเป็นเมตร

                          m  คือ   ตัวเลขยกก้าลังซึ่งผันแปรตามความลาดชัน มีความสัมพันธ์กับสัดส่วนระหว่าง

                  การชะล้างพังทลายแบบร่องริ้ว (rill  erosion)  ซึ่งเกิดจากการกระท้าของน้้าไหลบ่ากับการชะล้าง
                  พังทลายระหว่างร่องริ้ว (interrill erosion) ซึ่งเกิดจากการกระท้าของเม็ดฝนบนพื้นที่ลาดชันสูง ค่า m

                  จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการชะล้างพังทลายแบบร่องริ้วมีมากกว่าการชะล้างพังทลายระหว่างร่องริ้ว

                  ในทางกลับกันพื้นที่ลาดชันน้อยค่า m  จะลดลง เนื่องจากการชะล้างพังทลายแบบร่องริ้ว มีน้อยกว่า

                  การชะล้างพังทลายระหว่างร่องริ้ว
                             ความลาดเท ()

                          ความลาดเท  หรือ ค่า  เพื่อใช้ในสมการค้านวณค่าปัจจัยความยาวของความลาดเท (L) ข้างต้น

                  มีการน้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาใช้ และศึกษาเปรียบเทียบค่าความยาวของความลาดเทที่ค้านวณได้ เพื่อเลือก

                  แหล่งข้อมูลที่มีความถูกต้องเหมาะสมส้าหรับค้านวณค่าการสูญเสียดินมากที่สุด (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545)
                             ความชัน (Slope gradient)

                          จากเอกสารของ กรมพัฒนาที่ดิน (2545) อธิบายเรื่องความชัน ไว้ดังนี้

                             ความชันของพื้นที่สามารถตรวจวัดได้ในสนามด้วยเครื่องมือวัดความลาดเอียง เช่น เครื่อง Abney

                  ข้อมูลแผนที่เส้นชั้นความสูง ที่มีเส้นความสูงห่างชั้นละ 2 ฟุต สามารถใช้ค้านวณค่าความชันได้หากกระท้า



                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114