Page 35 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 35

26





                  ความต้องการของผู้ใช้ที่ดินกับการตอบสนองของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดให้มีผลตอบแทนสูงสุด
                  ขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาทรัพยากรเหล่านั้นไว้ใช้ในอนาคตได้ด้วย (วันชัย และคณะ, 2530)

                        3.5 การพัฒนาที่ดินตามสภาพปัญหา
                             การพัฒนาที่ดิน (Land Development) หมายถึง การปฏิบัติการใดๆ ในอันที่จะท าให้การใช้

                  ที่ดินบังเกิดผลดี หรือมีประโยชน์ต่อประชากรและประเทศชาติโดยส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

                  มากที่สุดเท่าที่อาจจะเป็นไปได้ หลักการพัฒนาที่ดินสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง คือ 1) พัฒนาที่ดินที่ยังไม่เคย
                  ใช้ประโยชน์ให้มาอยู่ในรูปที่ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ  เช่น ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม

                  และที่อยู่อาศัย เป็นต้น 2) พัฒนาที่ดินที่ใช้ประโยชน์อยู่แล้วให้ได้รับประโยชน์หรือผลตอบแทนอย่างเต็มที่

                  โดยวิธีการพัฒนาและปรับปรุงบ ารุงดินด้วยวิธีการต่างๆ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)
                             เขตพัฒนาที่ดิน (Zone of Land Development) หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้ าขนาดเล็ก หรือพื้นที่

                  ด าเนินการที่ได้รับการคัดเลือกให้พัฒนา โดยการบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การส ารวจและ
                  วางแผนการใช้ที่ดิน การจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า การพัฒนาแหล่งน้ า การปรับปรุงบ ารุงดินที่มีปัญหา

                  ต่างๆ อาทิเช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินกรด ดินตื้น ดินทราย ดินอินทรีย์ และพื้นที่ลาดชันสูง รวมทั้งการฟื้นฟู
                  ดินเสื่อมโทรมในพื้นที่ที่ดินขาดอินทรียวัตถุ หรือตามสภาพปัญหาของพื้นที่นั้นๆ โดยมีวัตถุประสงค์

                  เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนเป็นการสาธิตให้

                  เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนาที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ า การฟื้นฟูและ
                  ปรับปรุงบ ารุงดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)

                             วงรอบเขตพัฒนาที่ดิน หมายถึง ขอบเขตเขตพัฒนาที่ดินที่แสดงในลักษณะลุ่มน้ า เพื่อให้เห็น

                  ภาพรวมของการพัฒนาที่ดินในเชิงพื้นที่ โดยพื้นที่ที่ได้ก าหนดขึ้นนั้น กรมพัฒนาที่ดินพิจารณาตามสภาพ
                  ปัญหาทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก รวมทั้งได้มีการ

                  ส ารวจจัดท าฐานข้อมูลทั้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ สภาพเศรษฐกิจและสังคม เพื่อใช้ในการวิเคราะห์
                  จัดท าแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยกรมพัฒนาที่ดินมีนโยบายให้ด าเนินการจัดท าเขตพัฒนาที่ดินในกรอบ

                  ของพื้นที่ลุ่มน้ าในปี 2550 ตามท าเนียบประกาศวงรอบเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ า ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด
                  รวมทั้งหมด 547 แห่ง แล้วบูรณาการกิจกรรมต่างๆด้านการพัฒนาที่ดินลงในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ า

                  และเพื่อให้แต่ละพื้นที่ด าเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ในปี 2556 จึงมีการแต่งตั้งคณะท างานพิจารณาการ

                  ก าหนดวงรอบเขตพัฒนาที่ดิน เพื่อพิจารณาปรับปรุงท าเนียบวงรอบเขตพัฒนาที่ดินเดิมให้มีความสมบูรณ์
                  ถูกต้อง เป็นไปตามหลักสากล และประกาศเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าแห่งใหม่เพิ่มขึ้นให้เป็นไปตามหลักการและ

                  แนวทางเดียวกัน มีความสอดคล้องกับแนวทางตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็น

                  กฎหมายที่ให้อ านาจกรมพัฒนาที่ดินเข้าไปด าเนินการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
                  ยิ่งขึ้น และเป็นกลไกส าคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทรัพยากรดิน การเสื่อมโทรมและพังทลายของดิน

                  (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556)
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40