Page 63 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 63

51




                                                        ข้อเสนอแนะ



                                      1. การท าปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงของกรมพัฒนาที่ดิน ควรเลือกใช้สูตรปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่

                  เหมาะสมกับการเลือกวัสดุเหลือใช้ที่มีปริมาณมากและหาง่ายในท้องถิ่น เพื่อการลดต้นทุนในการผลิตปุ๋ย
                  อินทรีย์คุณภาพสูง

                                      2. การใช้ปุ๋ยพืชสดเพียงอย่างเดียวในการเพิ่มผลผลิตพืช อาจท าให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร แต่

                  การปลูกถั่วพร้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีผลท าให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารเพียงพอต่อการ

                  เจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน
                                      3.  การดูแลรักษาและการจัดการข้าวโพดฝักอ่อน เกษตรกรต้องหมั่นดูแลในเรื่อง การถอด

                  ยอดของข้าวโพดฝักอ่อนเมื่อใกล้ถึงระยะเก็บเกี่ยว (อายุประมาณ 60-65  วัน)  เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิต

                  ข้าวโพดฝักอ่อนให้สูงขึ้น
                                      4. การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนโดยการลดใช้ปุ๋ยเคมี  โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และการ

                  ปลูกถั่วพร้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เกษตรกรต้องมีความอดทน ดูแลเอาใจใส่มากกว่าเกษตรแบบ

                  การใช้ปุ๋ยเคมีที่ใช้เวลารวดเร็วและให้ผลผลิตสูง  แต่การเกษตรที่ลดใช้ปุ๋ยเคมี  การปรับปรุงบ ารุงด้วยการ

                  เพิ่มอินทรียวัตถุด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยพืชสด จะท าให้ทรัพยากรดินในพื้นที่ของเกษตรกรมีความยั่งยืน
                  ตลอดไป



                  ประโยชน์ที่ได้รับ


                                      1. ได้ข้อมูลผลจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับการปลูกถั่วพร้า  การใช้ปุ๋ยอินทรีย์

                  คุณภาพสูง และการปลูกถั่วพร้าเพื่อปรับปรุงดิน เพื่อน าไปถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร โดยมี
                  ทางเลือกหลากหลายในการเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนอินทรีย์ที่เหมาะสมและเกิดความยั่งยืน

                  ของการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในพื้นที่ของเกษตรกร

                                      2. ได้แนวทางการจัดการดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน

                                      3. ได้แนวทางการจัดการทรัพยากรดินโดยการฟื้นฟูปรับปรุงดินเพื่อให้มีศักยภาพการผลิต
                  ข้าวโพดฝักอ่อนอย่างยั่งยืน

                                      4. ได้ฐานข้อมูลในการน าไปประยุกต์ใช้ในการทดลองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68