Page 20 - การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 20

6
               2.2 ลักษณะภูมิประเทศ


                           ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 (2547) ได้รายงานว่า จังหวัดเพชรบุรีมีลักษณะภูมิทัศน์ที่ส าคัญ

               ประกอบด้วย บริเวณที่เป็นภูเขา (Mountains) ที่ลาดเชิงเขา (Foothills,  Piedmont) ที่ราบ (Plains) และที่ราบ

               ชายฝั่งทะเล (Coastal plains) อธิบายรายละเอียด ได้ดังนี้
                           1) ภูเขา พบส่วนใหญ่ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัด ในเขตอ าเภอหนองหญ้าปล้อง อ าเภอท่ายาง

               และอ าเภอแก่งกระจาน มีลักษณะพื้นที่สูงชัน (Steep) ถึงสูงชันมากที่สุด (Extremely  steep) ที่สลับซับซ้อน

               มีความสูงจากระดับน้ าทะเลประมาณ 1,000-1,200  เมตร ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้

               พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตป่าไม้ เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเป็นแหล่งต้นน้ า ล าธาร ที่ส าคัญ
               ของจังหวัดเพชรบุรี

                           2)  ที่ลาดเชิงเขา  อยู่ต่อเนื่องลงมาจากบริเวณที่เป็นภูเขา พบบริเวณตอนกลางของจังหวัด ในเขต

               อ าเภอเขาย้อย อ าเภอบ้านลาด อ าเภอท่ายาง บางส่วนของอ าเภอเมืองและอ าเภอชะอ า มีลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่น
               ลอนลาด (Undulating) ลูกคลื่นลอนชัน (Rolling) และเนินเขา (Hilly) ประกอบด้วยภูมิสัณฐาน (Landform)

               ที่เป็นเนินเขา (Hill)  เชิงเขา (Footslope)  รวมทั้งเนินตะกอนน้ าพารูปพัด (Alluvial  fan) พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ท า

               การเกษตร โดยเฉพาะพวกไม้ผลและพืชไร่ เช่น มะม่วง สับปะรด มะนาว ข้าวโพดและอ้อย เป็นต้น
                           3)  ที่ราบ พบ มากในเขตอ าเภอเขาย้อย อ าเภอเมือง อ าเภอบ้านลาด อ าเภอท่ายางและอ าเภอชะอ า

               มีลักษณะพื้นที่ราบเรียบ (Level) จนถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย (Gently  undulating) โดยที่ราบในจังหวัด

               เพชรบุรีเคยเป็นทะเลมาก่อน ภายหลังเกิดเป็นแผ่นดินโดยชายฝั่งทะเลถอยร่นออกไป และมีแม่น้ าเพชรบุรีไหล
               ออกมารวมกับห้วยแม่ประจันต์ลงสู่บริเวณที่ราบนี้ ท าให้เกิดเป็นภูมิสัณฐานที่ส าคัญ คือ เนินตะกอนน้ าพารูป

               พัดและที่ราบตะกอนน้ าพา (Alluvial    plain) ซึ่งประกอบด้วย สันดินริมน้ า (Levee) ที่ราบน้ าท่วมถึง

               (Floodplains) และตะพักล าน้ า (Terrace) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและใช้ท าการเกษตร โดยมีพืชปลูก

               ที่ส าคัญ เช่น ข้าว อ้อย กล้วยและมะนาว เป็นต้น
                           4)  ที่ราบชายฝั่งทะเล พบทางด้านทิศตะวันออกของจังหวัด ในเขตอ าเภอบ้านลาด อ าเภอเมือง

               อ าเภอท่ายางและอ าเภอชะอ า ประกอบด้วยภูมิสัณฐานที่ส าคัญ ได้แก่ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ า (Delta) ที่

               เป็นที่ราบน้ าทะเลเคยท่วมถึง (Former tidal flat) และที่ราบน้ าทะเลท่วมถึง (Tidal flat) ไปจนติดชายฝั่งทะเล ที่
               เป็นหาดทราย (Beach) และสันทราย (Beach  ridge) พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ท านาเกลือ ปลูกข้าว สวนมะพร้าวและที่

               อยู่อาศัย
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25