Page 21 - การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 21

7
               2.3  สภาพภูมิอากาศ


                           จังหวัดเพชรบุรีมีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนและชุ่มชื้น กล่าวคือในรอบปีหนึ่งๆ มีระยะเวลาฝนตก

               ชุกช่วงหนึ่งสลับกับช่วงแล้งอย่างเห็นได้ชัด ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพล

               จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ท าให้มีเมฆมากและฝนตกชุกในช่วงนี้ ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึง
               เดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะแห้งแล้งและหนาวเย็น อยู่ในช่วงอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูร้อน

               เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน อากาศจะร้อนจัดในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนมรสุมครั้งแรก

                           จากตารางที่ 1  แสดงปริมาณน้ าฝนที่ตกในช่วง พ.ศ. 2524  –  2549  ของจังหวัดเพชรบุรี พบว่ามี

               จ านวนวันที่ฝนตกทั้งหมดเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 96 วัน มีปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 988.0 มิลลิเมตร
               โดยฝนตกเฉลี่ยมากที่สุดในเดือนตุลาคม คือ 267.3  มิลลิเมตรและตกน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ คือ

               3.7  มิลลิเมตร สภาพอากาศค่อนข้างร้อนตลอดปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27.8  องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย

               สูงสุดในเดือนพฤษภาคม คือ 33.2 องศาเซลเซียสและต่ าสุดในเดือนธันวาคม คือ 20.8 องศาเซลเซียส ความชื้น
               สัมพัทธ์เฉลี่ยประมาณ 75.60  เปอร์เซ็นต์   มีค่าสูงสุดในเดือนตุลาคม คือ 81.00  เปอร์เซ็นต์ ต่ าสุดในเดือน

               ธันวาคม คือ  71.00  เปอร์เซ็นต์   มีค่าศักย์การคายระเหยเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 497.0  มิลลิเมตร โดยมีค่าเฉลี่ย

               สูงสุดในเดือนเมษายนคือ 55.0 มิลลิเมตรและต่ าสุดในเดือนตุลาคม คือ 33.0 มิลลิเมตร
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26