Page 9 - ค่าวิเคราะห์ดิน โครงการ 84 ตำบล ปุ๋ยลดตันทุนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุ 84 พรรษา
P. 9

2



                      แต่เนื่องจากราคาปุ๋ยมีแนวโน้มสูงขึ้นมากจนเป็นปัญหาด้านต้นทุนการผลิตของเกษตรกร  ใน

               ขั้นต้นรัฐบาลสมควรเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรด้วยการช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนปุ๋ยเคมีให้กับเกษตรกร
               ในอัตรากิโลกรัมละ 1.50 บาท หรือตันละ 1,500 บาท ตามค่าวิเคราะห์ดิน ในปริมาณและสูตรปุ๋ยที่มี

               ขายในท้องตลาดไปก่อน  ขณะเดียวกันต้องเตรียมความพร้อม  ให้ความรู้กับเกษตรกรในการเก็บ
               ตัวอย่างดินและการวิเคราะห์ข้อมูลดิน  และการผสมแม่ปุ๋ยใช้เองให้เหมาะสมกับศักยภาพดินในแปลง

               ของเกษตรกรเอง

                      คณะรัฐมนตรีได้มีมติ  เมื่อวันที่ 6  พฤษภาคม 2554  ให้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น  โครงการ

               ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร

                      แนวทางการดําเนินงาน แบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่

                      - กรณีที่ 1 โครงการ 84 ตําบล ปุ๋ยลดต้นทุนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มี

               พระชนมายุ 84 พรรษา

                      - กรณีที่ 2 โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เบื้องต้นดําเนินการ

               ในพื้นที่ 13 จังหวัด ประกอบด้วย ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา
               ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก นครปฐม นครศรีธรรมราช พัทลุง และ สงขลา

               3. วัตถุประสงค์ เพื่อเก็บและวิเคราะห์สมบัติต่างๆ ของดิน หาค่าระดับของธาตุอาหารพืชในดิน


               4. สถานที่ดําเนินการ พื้นที่ 84 ตําบล (แผนที่แสดงจุดเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างดิน 84 ตําบล หน้า 5)

               5. การดําเนินงาน

                      การเก็บดินเพื่อการวิเคราะห์ดินนั้น เป็นขั้นตอนที่มีความสําคัญมาก การเก็บตัวอย่างดินที่ดีจะ

               ช่วยลดความคลาดเคลื่อนที่จะเกิดขึ้นและทําให้ผลการวิเคราะห์มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ ในที่นี้ใช้
               วิธีการเก็บตัวอย่างดิน แบบ composite sample เป็นการเก็บตัวอย่างดิน 1 ตัวอย่าง ในแปลง ที่มา

               จากการเก็บดินประมาณ 15 จุด เก็บดินรอบๆ แปลง แล้วนํามาคลุกเคล้ารวมกัน จากนั้นนําดิน 1 ใน
               4 ส่วน มาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง แล้วลงค่าพิกัด GPS  บนถุงเก็บตัวอย่างดิน (รายละเอียดการเก็บและ

               วิเคราะห์ดินหาอ่านได้จาก“คู่มือการปฏิบัติงานเก็บและวิเคราะห์ดินสําหรับเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน

               และหมอดินอาสา” โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร) อย่างไรก็ตามการ
               เก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์ จําเป็นต้องเลือกตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ และได้ค่าวิเคราะห์

               ธาตุอาหารพืชนําไปใช้ในการคํานวณสูตรปุ๋ยและอัตราปุ๋ยที่ถูกต้องเหมาะสม

                      เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินและหมอดินอาสา ปฏิบัติหน้าที่ในการเข้าพื้นที่ ในท้องที่ตําบล
               ที่รับผิดชอบ เพื่อเก็บตัวอย่างดิน แล้วนําตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ หลังจากได้ดําเนินการวิเคราะห์

               สมบัติต่างๆ ของดิน  หาค่าระดับของธาตุอาหารพืชในดินแล้ว จะทําการบันทึกข้อมูลโดยโปรแกรม

               ระบบการบันทึกข้อมูล  ข้อมูลเหล่านี้เมื่อดําเนินการเสร็จแล้ว สํานักงานพัฒนาที่ดินเขต และสถานี
               พัฒนาที่ดิน ที่เกี่ยวข้อง จะส่งข้อมูลมาที่สํานักสํารวจและวิจัยทรัพยากรดิน ในฐานะฝ่ายเลขานุการ

               เพื่อทําการตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องร่วมกับสํานักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14