Page 4 - ค่าวิเคราะห์ดิน โครงการ 84 ตำบล ปุ๋ยลดตันทุนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุ 84 พรรษา
P. 4
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
ปี 2554 เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุ 84 พรรษา
คณะกรรมการดําเนินโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร จึงเห็นสมควร
เทิดพระเกียรติของพระองค์ท่าน โดยจัดทํา “โครงการ 84 ตําบล ปุ๋ยลดต้นทุนเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ 84 พรรษา” เพื่อยกระดับความรู้เรื่องดินและปุ๋ยให้แก่
เกษตรกร การส่งเสริมให้ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตพืช โดยการแนะนําให้เกษตรกรใช้ที่ดิน
เหมาะสมกับศักยภาพของดิน และใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสมตามระดับของธาตุอาหารพืชได้ ซึ่งจะ
ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการรักษาทรัพยากรดินให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
กรมพัฒนาที่ดินมีภารกิจตามกฎหมาย มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์
มีเครื่องมือและวิทยาการที่ก้าวหน้าในการกําหนดมาตรฐานในการเก็บและวิเคราะห์ดิน มีเครือข่าย
หมอดินอาสาครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ ดังนั้น คณะกรรมการดําเนินโครงการส่งเสริมการใช้
ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร จึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการเก็บและวิเคราะห์ดิน ซึ่งมี
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดินเป็นประธาน รับผิดชอบดําเนินการเก็บและวิเคราะห์ดิน เพื่อทราบถึงระดับของ
ธาตุอาหารพืชในดิน และให้ข้อมูลแก่คณะอนุกรรมการกําหนดคําแนะนําสูตรปุ๋ยลดต้นทุน เพื่อ
คํานวณสูตรและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมกับที่ดินของเกษตรกร
กรมพัฒนาที่ดินได้ดําเนินการโครงการฯ ทุกจังหวัด จังหวัดละ 1-2 ตําบล ในตําบลพื้นที่
เป้าหมาย รวม 84 ตําบล ครอบคลุม 918 หมู่บ้าน รวม 2,537 จุด จัดทําข้อมูลแสดงค่าระดับธาตุ
อาหารพืชในดิน ได้แก่ ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส ปริมาณธาตุโพแทสเซียม ค่าความ
เป็นกรดเป็นด่าง (pH) ปริมาณความต้องการปูน รายละเอียดจุดพิกัดที่เก็บตัวอย่างดินในระบบ UTM
WGS84 ทั้ง แนว X และ แนว Y มีรายชื่อ ตําบล อําเภอ และจังหวัด รวมทั้งได้จัดทําแผนที่แสดงจุด
เก็บตัวอย่างดินทั้ง 84 ตําบล เพื่อให้ทราบตําแหน่งการเก็บตัวอย่างดิน และจัดทําตารางแสดงค่า
วิเคราะห์ต่างๆ ที่กล่าวมาทั้ง 84 ตําบล นอกจากนี้ได้อธิบายโดยสังเขปของสถานะภาวะระดับธาตุ
อาหารพืช 84 ตําบล ด้วย
ผลการดําเนินงาน พบว่า ดินส่วนใหญ่ (ร้อยละ 48) มีปริมาณอินทรียวัตถุในระดับปานกลาง
รองลงมา ในระดับต่ํา (ร้อยละ 36) ระดับสูง (ร้อยละ 12) และระดับต่ํามาก (ร้อยละ 4) สําหรับ
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ส่วนใหญ่มีปริมาณในระดับต่ํา (ร้อยละ 85) รองลงมา ในระดับ
ปานกลาง (ร้อยละ 10) และในระดับต่ํา (ร้อยละ 5) และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ส่วน
ใหญ่มีปริมาณในระดับต่ํา (ร้อยละ 75) รองลงมา ในระดับสูง (ร้อยละ 14) และในระดับปานกลาง
(ร้อยละ 11)