Page 621 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 621

607



                  6. การจัดการเพื่อใหเหมาะสมในการปลูกพืช

                         การจัดการดินใหเหมาะสมในการปลูกพืชนั้น จะตองพิจารณาถึงขอจํากัดตางๆ ดําเนินการแกไข

                  ขอจํากัด และจัดระบบการใชใหสอดคลองกับศักยภาพของที่ดิน ดังนี้

                          6.1 เลือกพืชใหเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และชนิดของดิน  สภาพของดินกลุมนี้มีความแตกตาง

                  ในดานความลาดเทของพื้นที่ และความลึกของดิน จึงควรกําหนดชนิดพืชดังนี้ 1) ในพื้นที่ซึ่งมีความลาดเท

                  นอยกวา 12  เปอรเซ็นต  ควรปลูกพืชไรและพืชผักบางชนิด และ 2) ในพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทสูงกวา 12

                  เปอรเซ็นต  ควรเนนการปลูกไมยืนตนที่ไมตองไถพรวนดิน และควรปลูกพืชคลุมดินอยางถาวร เพื่อปองกัน

                  การชะลางพังทลายของหนาดิน

                          6.2 จัดระบบการปลูกพืชใหเหมาะสม  ดังนี้ คือ 1) ใชระบบการปลูกพืชหมุนเวียนที่มีพืชตระกูล

                  ถั่วแทรกอยูกับพืชอื่น และ 2) ปลูกพืชตระกูลถั่วแซมอยูในแถวพืชหลัก


                          6.3 การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ สมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดิน  กลุมชุดดิน
                  ที่ 56 เปนดินที่มีความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติต่ํา จึงควรใชปุยอินทรียรวมกับปุยเคมี ดังนี้ 1) ใสปุยหมัก

                  หรือปุยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร ในบางปควรทําปุยพืชสด โดยปลูกพืชปุยสด เชน ปอเทือง ถั่วพรา ถั่วพุม ฯลฯ

                  กอนปลูกพืชหลักประมาณ 2 เดือน แลวไถกลบเมื่อออกดอก ปุยอินทรียเหลานี้นอกจากชวยเพิ่มธาตุอาหาร
                  แลว ยังชวยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดินดวย และ 2) หากผลการวิเคราะหดินทาง

                  เคมียังแสดงวา ดินขาดธาตุใดธาตุหนึ่งก็เสริมดวยปุยเคมี สําหรับสูตร อัตรา และวิธีการใชปุยเคมีขึ้นอยูกับ

                  ชนิดของพืช ซึ่งกลาวไวในหัวขอที่ 9


                          6.4  การอนุรักษดินและน้ํา  กลุมชุดดินนี้มีศักยภาพที่จะเกิดการชะลางพังทลายสูง เนื่องจากเนื้อดินบน
                  คอนขางเปนทราย และมีความลาดเทอยูระหวาง 2-35  เปอรเซ็นต  สําหรับพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทเกิน 12

                  เปอรเซ็นต  ถาไมมีการอนุรักษดินและน้ําอยางเหมาะสมแลว  จะเกิดการชะลางพังทลายอยางรุนแรง การ

                  อนุรักษดินและน้ํามี 2 แบบ คือ วิธีการทางพืชและวิธีกล ดังนี้ 1) วิธีการทางพืช เปนวิธีที่ตองนํามาใชกอน

                  เชน  การปลูกพืชเปนแถวขวางความลาดเท ปลูกพืชเปนแถบขวางความลาดเท ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกแถบ

                  หญาแฝกตามแนวระดับ  ปลูกพืชตระกูลถั่ว  หรือไมพุมยืนตนตระกูลถั่วสลับกับแถวพืชหลักตามแนวระดับ
                  และปลูกพืชตระกูลถั่วแซมพืชหลักตามแนวระดับเปนตน และ 2) วิธีกล ใชกับบริเวณที่มีความลาดชันสูง

                  ตั้งแต 12 เปอรเซ็นตขึ้นไป เชน ทําคันดิน คันเบนน้ํา ทางระบายน้ํา บอดักตะกอน รวมทั้งบอน้ําประจําไรนา

                  เพื่อเก็บกักน้ําไวใชประโยชนในระยะฝนทิ้งชวงและในฤดูแลง การผสมผสานวิธีทางพืชกับวิธีกลอยาง

                  เหมาะสม จะชวยปองกันการพังทลายของดินไดดีที่สุด

                  7. ขอเสนอแนะ

                         กลุมชุดดินที่ 56 มีความเหมาะสมในการปลูกพืชไรหลายชนิด และพัฒนาเปนทุงหญาเลี้ยงสัตวได

                  ดี ถาพื้นที่มีความลาดเทนอยกวา 12 เปอรเซ็นต แตถาความลาดเทของพื้นที่สูงกวานี้ ควรใชปลูกไมยืนตน
   616   617   618   619   620   621   622   623   624   625   626