Page 576 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 576

562



                  แซมอยูในแถวพืชหลัก นอกจากนี้ยังควรทําปุยพืชสดเปนครั้งคราว โดยปลูกพืชปุยสดกอนพืชหลักประมาณ

                  2 เดือน แลวไถกลบเมื่อออกดอก

                          6.3 ปรับปรุงความอุดมสมบูรณของดิน  กลุมชุดดินที่ 53 สวนใหญเปนดินที่มีความอุดมสมบูรณ

                  ตามธรรมชาติต่ํา จึงจําเปนตองใชปุยอินทรียรวมกับปุยเคมี สําหรับปุยอินทรียที่ใช ไดแก ปุยพืชสด ปุยหมัก

                  และปุยคอก เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ชวยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดิน หากยังมีความ

                  ขาดแคลนบางธาตุ ก็เสริมดวยปุยเคมีตามความจําเปน ซึ่งกลาวไวในหัวขอที่ 9

                          6.4 การอนุรักษดินและน้ํา  เปนเรื่องสําคัญมากสําหรับกลุมชุดดินนี้  เนื่องจากบางบริเวณมีความ

                  ลาดชันสูง  จึงเกิดการชะลางพังทลายและสูญเสียหนาดิน หรือเกิดการลื่นไถลของดินไปทับถมพื้นที่ใน

                  ตอนลาง จําเปนตองผสมผสานวิธีกลและวิธีการทางพืช เชน ทําคันดินและทําขั้นบันไดรวมกับการปลูกพืช

                  คลุมดิน หรือปลูกพืชขวางความลาดเท เปนตน

                  7. ขอเสนอแนะ

                         กลุมชุดดินที่ 53 มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกยางพารา ปาลมน้ํามัน มะมวงหิมพานต มะพราว

                  กาแฟ โกโก ไมผลชนิดตางๆ เชน ทุเรียน มังคุด เงาะ  พืชไร เชน ขาวไร ขาวโพด ถั่ว สับปะรด  ทําทุงหญา

                  เลี้ยงสัตว แตไมคอยเหมาะสมในการปลูกพืชผัก เนื่องจากขาดแคลนแหลงน้ํา และไมเหมาะสมในการทํานา
                  เพราะเปนพื้นที่ซึ่งเก็บกักน้ําไมได อยางไรก็ตามการใชประโยชนกลุมชุดดินนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุด หาก

                  ดําเนินการดวยระบบเกษตรแบบผสมผสาน คือ ทํากิจกรรมหลายๆ  อยางรวมกัน โดยกิจกรรมเหลานั้น

                  เกื้อกูลซึ่งกันและกันดวย เชน  ปลูกพืชอาหารสัตวในสวนไมผล ปลูกพืชคลุมดินระหวางแถวไมผลหรือ

                  ยางพารา หรือปลูกพืชรวมกับการเลี้ยงสัตว เปนตน

                  8. การเตรียมดินสําหรับปลูกพืชชนิดตางๆ


                          8.1 การเตรียมดินสําหรับปลูกพืชไร

                         8.1.1 ปญหาความลาดชันสูง

                         เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเปนลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขา ฉะนั้นมาตรการลดการสูญเสียหนาดิน

                  เปนสิ่งแรกที่พึงกระทํา เชน การทําคันดินขวางความลาดเท รวมกับการปลูกพืชไรขวางความลาดเทเปนตน

                         8.1.2 ปญหาดินขาดธาตุอาหารบางตัว


                         การใสปุยเคมีเปนวิธีแกไขเฉพาะหนา ชนิดปุย อัตรา และวิธีการใสจะขึ้นกับชนิดพืชที่ปลูกและผล
                  การวิเคราะหดินที่แสดงไวในตารางที่ 53.5 เปนสําคัญ
   571   572   573   574   575   576   577   578   579   580   581