Page 558 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 558

544



                                k  =  ดินไมเหมาะสมตอการทําเขตกรรมพิจารณาเฉพาะความลึกดิน

                                                   เนื้อดิน และโครงสรางดิน


                                x  =  ดินมีอิทธิพลของเกลือ


                                w  =  พื้นที่ไมเหมาะสมตอการใชเครื่องจักรกล

                                e  =  พื้นที่งายตอการชะลาง

                  5. ปญหาและขอจํากัดในการปลูกพืช


                          5.1 ดินตื้นถึงตื้นมาก  มีเศษหินปูนและ/หรือกอนปูนปะปนอยูกับดิน และเปนชั้นหนา ทําใหเตรียม

                  ดินยาก และรากพืชไมคอยเจริญเติบโต

                          5.2 ดินเปนดางจัด  ทําใหธาตุฟอสฟอรัส เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี และโบรอน อยูในรูปที่

                  ไมละลาย จึงเปนประโยชนตอพืชนอย เปนเหตุใหพืชขาดแคลนธาตุเหลานั้น

                  6. การจัดการเพื่อใหเหมาะสมในการปลูกพืช


                          6.1 การจัดการปญหาดินตื้น  ในกรณีที่ใชในการปลูกพืชไร ควรเลือกดินที่มีดินบนหนากวา 15 ซม.
                  สําหรับปลูกพืชรากตื้น เชน ขาวโพด ขาวฟาง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และอื่นๆ หากใชปลูกไมผลหรือไมยืนตน ควร

                  ขุดหลุมใหกวางกวาปรกติ แลวนําดินมาผสมกับปุยคอกหรือปุยหมัก อัตรา 20-30 กก./หลุม


                          6.2 การจัดการปญหาดินเปนดาง  ควรดําเนินการดังนี้ 1) ใสปุยอินทรีย เชน ปุยคอกหรือปุยหมัก

                  เพื่อปรับสมบัติทางเคมีของดินอันมีผลใหลดการตรึงฟอสฟอรัส และพืชไดรับจุลธาตุเพิ่มเติมจากปุยอินทรีย
                  2) เลือกพืชที่ทนดินดางไดดี เชน ขาวโพด ขาวฟาง ฝาย มะละกอ หรือนอยหนา (ขอคําปรึกษาจากหนวย

                  งานวิจัยดานพืชในทองถิ่น) และ 3) หากพืชเริ่มแสดงอาการขาดจุลธาตุ ใหแกปญหาโดยการฉีดพนปุยจุล

                  ธาตุทางใบ

                          6.3 การรักษาความชื้นในดิน  กลุมชุดดินนี้มักขาดแคลนน้ําในการปลูกพืชชวงฤดูแลง  จึงควร

                  รักษาความชื้นในดิน โดย 1) ใชวัสดุ เชน ฟางขาว เศษหญา หรือตอซังขาวโพด –  ขาวฟาง  คลุมผิวดิน

                  ระหวางแถวพืช และ 2) ปลูกพืชคลุมดินในสวนไมผลหรือไมยืนตน  นอกจากนี้ยังตองพัฒนาแหลงน้ําให

                  เพียงพอสําหรับการปลูกพืชในชวงฤดูแลงดวย

                          6.4 การปรับปรุงความอุดมสมบูรณของดิน  ถึงแมวากลุมชุดดินนี้จะมีความอุดมสมบูรณสูง แต

                  เมื่อปลูกพืชไปนานๆ โดยขาดการบํารุงดิน ความอุดมสมบูรณยอมลดลง จึงควรดําเนินการดังตอไปนี้

                         6.4.1  ปลูกพืชบํารุงดิน ไดแก 1) ปลูกพืชหมุนเวียนโดยปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับการปลูกพืชหลัก

                  2) ปลูกพืชปุยสดแลวไถกลบเมื่อออกดอก 3) ปลูกพืชตระกูลถั่วแซมระหวางแถวพืชหลัก และ 4) ปลูกพืช
                  ตระกูลถั่วคลุมดินในสวนผลไมและไมยืนตน
   553   554   555   556   557   558   559   560   561   562   563