Page 439 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 439

425



                  3.3 การประเมินความอุดมสมบูรณของดิน

                         การประเมินความอุดมสมบูรณของดินแตละชุดไดใชสมบัติทางเคมี 5  อยาง คือ คาความจุในการ
                  แลกเปลี่ยนแคตไอออน(CEC)  เปอรเซ็นตอิ่มตัวดวยเบส(base saturation percentage, %BS)  ปริมาณ

                  อินทรียวัตถุในดิน(OM) ฟอสฟอรัสที่เปนประโยชน(avai.P) และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได(exch.K) ซึ่งได

                  จากผลของการวิเคราะหดินที่เปนตัวแทนของชุดดินในกลุมชุดดินนี้  โดยพิจารณาเฉพาะผิวดินระดับความ

                  ลึก 0-30 ซม.  สําหรับวิธีประเมินใชวิธีการในคูมือการวินิจฉัยคุณภาพของดินสําหรับประเทศไทย ป 1973
                  (Soil Interpretation Handbook for Thailand, 1973) พิมพเผยแพรโดยกรมพัฒนาที่ดิน  ซึ่งผลของการ

                  ประเมินสรุปไดดังตารางที่ 45.5


                  ตารางที่ 45.5 ผลการวิเคราะหดิน และระดับความอุดมสมบูรณของแตละชุดดิน

                                              CEC         BS         OM        Avai.P   Exch.K    ระดับความ
                       ชุดดิน       pH
                                            cmol /kg      (%)        (%)      (mg/kg)   (mg/kg)  อุดมสมบูรณ
                                                c
                   เขาขาด            -        9.30       8.03        3.57      1.18      114.37   ปานกลาง
                   คลองชาก          4.68      8.07       10.90       0.33      2.70      37.00       ต่ํา

                   ชุมพร            5.10      6.90       13.50       0.68      4.40      29.40       ต่ํา
                   ทาฉาง            -        3.42       15.27       1.83      4.80      31.17       ต่ํา

                   ยะลา              -        5.64       13.73       2.82      7.83      125.93      ต่ํา
                   หนองคลา          -        8.04       5.70        3.88      2.52      45.17       ต่ํา
                   หาดใหญ           -       10.07       9.17        2.71      5.81      54.70       ต่ํา

                   คามัธยฐาน       4.89      8.04       10.90       2.71      4.40      45.17       ต่ํา


                  สรุป :  จากการประเมินความอุดมสมบูรณของดินชุดตางๆ ที่จัดอยูในกลุมชุดดินที่ 45  พบวาความอุดม

                        สมบูรณอยูในระดับต่ํา ยกเวนชุดดินเขาขาดมีความอุดมสมบูรณอยูในระดับปานกลาง

                  4. การประเมินความเหมาะสมสําหรับการปลูกพืช

                         กลุมชุดดินที่ 45 มีศักยภาพในการปลูกยางพารา มะมวงหิมพานต และพัฒนาเปนทุงหญาเลี้ยง

                  สัตวมากกวาการทํานา เนื่องจากเปนที่ดอน  สภาพพื้นที่สวนใหญเปนลูกคลื่นลอนลาดถึงเปนเนินเขา

                  นอกจากนี้ยังใชปลูกไมผลชนิดตางๆ เชน โกโก มังคุด ปาลมน้ํามัน มะพราวและพืชไรชนิดตางๆ แมวาจะไม

                  คอยเหมาะสมกับพืชดังกลาวนัก  เนื่องจากดินมีชั้นกอนกรวดหรือชั้นลูกรังในระดับความลึก 50 ซม. ซึ่ง

                  ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืช กลุมชุดดินนี้ไมเหมาะสมในการทํานา  เนื่องจากมีสภาพพื้นที่สูง ยาก
                  ตอการเก็บกักน้ํา อยางไรก็ตามอาจจัดความเหมาะสมในการปลูกพืชตางๆ ดังตารางที่ 45.6
   434   435   436   437   438   439   440   441   442   443   444