Page 385 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 385

371



                  หญาเลี้ยงสัตว  สวนการเลือกระบบของการผสมผสาน ควรพิจารณาจากขนาดและสภาพพื้นที่ ขนาดของ

                  แหลงน้ํา ทักษะของเกษตรกร และความตองการผลผลิตของตลาดทั้งภายในและภายนอกทองถิ่น อยางไรก็
                  ตามเกษตรกรควรเลือกกิจกรรมที่เอื้อประโยชนซึ่งกันและกัน เชน 1) การเลี้ยงสัตวควบคูกับการปลูกไมผล

                  หรือไมยืนตน แลวใชมูลสัตวเปนปุยบํารุงดินในสวน สวนพื้นที่ระหวางแถวไมผลหรือไมยืนตนก็ใชปลูกหญา

                  เลี้ยงสัตวดวย หรือ 2) การปลูกพืชไรและพืชผักรวมกับการเลี้ยงสัตว  โดยใชเศษพืชเปนอาหารสัตวและใช

                  มูลสัตวเปนปุยอินทรีย

                         เพื่อใหการใชประโยชนกลุมชุดดินที่ 41  มีประสิทธิภาพสูง ควรพัฒนาแหลงน้ําในลักษณะบอน้ํา
                  ประจําไรนา  และขุดลอกแหลงน้ําธรรมชาติที่ตื้นเขิน  เพื่อใหมีน้ําเพียงพอสําหรับพืชตางๆ ในระยะที่ฝนทิ้ง

                  ชวง และการปลูกผักสวนครัวในชวงฤดูแลง


                  8. การเตรียมดินสําหรับปลูกพืช

                          8.1 การเตรียมดินสําหรับปลูกพืชไร

                         8.1.1 ปญหาดินเปนทราย ความชื้นในดินต่ํา

                         ใหเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน โดยใสปุยหมัก ปุยคอก อัตรา 1-3 ตัน/ไร หรือใชปุยพืชสดตระกูลถั่ว ไดแก

                  ปอเทือง ถั่วพรา หรือถั่วพุม อัตรา เมล็ดพันธุ 3-5 กก./ไร สําหรับถั่วพราใชเมล็ดพันธุ อัตรา 10-15 กก./ไร

                  หวานใหทั่วแปลงในตอนตนฤดูฝนราวกลางเดือนเมษายน หรือตนเดือนพฤษภาคม เมื่อปุยพืชสดออกดอก

                  50 เปอรเซ็นต หรือมีอายุ 60 วัน จึงทําการไถกลบคลุกเคลาใหเขากับดิน พักดินไว 5-10 วัน จึงทําการปลูก

                  พืชหลัก

                         8.1.2 ปญหาดินเกิดการชะลางพังทลาย

                         ใหปลูกพืชหลักตามแนวระดับขวางความลาดชันของพื้นที่ หรือใชระบบการปลูกพืชตระกูลถั่ว

                  หมุนเวียน หรือแซมในระหวางแถวของพืชหลัก

                         8.1.3 ปญหาดินมีความอุดมสมบูรณต่ํา ขาดธาตุอาหารพืชบางตัว


                         ใสปุยเคมี ชนิดของสูตร อัตรา และวิธีการใสขึ้นอยูกับชนิดพืชที่ปลูกรวมกับผลการวิเคราะหดินที่

                  แสดงไวในตารางที่ 41.5 ดวย

                  9. การใชปุยสําหรับพืชชนิดตางๆ

                          9.1 การใชปุยสําหรับพืชไร


                         ใชปุยเคมีเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณของดินและเพิ่มผลผลิตพืชไรที่ปลูก สําหรับ อัตราการใช
                  และวิธีการใสปุย พอกลาวสรุปตามผลการวิเคราะหดินที่แสดงไวในตารางที่ 41.5


                         9.1.1 มันสําปะหลัง  ใชปุยสูตร 21-7-14 อัตรา 60 กก./ไร ใสครั้งเดียวขางแถวปลูกแลวพรวนกลบ

                  เมื่อพืชมีอายุระหวาง 2-4  เดือน
   380   381   382   383   384   385   386   387   388   389   390