Page 384 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 384

370



                          5.4  ขาดแคลนน้ําในการเพาะปลูก   เนื่องจากบริเวณนี้ไมมีระบบชลประทานและแหลงน้ํา

                  ธรรมชาติก็มีจํากัด จึงใชพื้นที่ในการปลูกพืชไดนอย จําเปนตองพัฒนาแหลงน้ํา


                  6. การจัดการเพื่อใหเหมาะสมในการปลูกพืช


                          6.1 การอนุรักษดินและน้ํา  เพื่อปองกันการชะลางพังทลายของดิน จึงควรอนุรักษดินและน้ําดวย
                  วิธีกลผสมผสานกับวิธีทางพืช ในพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทตั้งแต 5  เปอรเซ็นตขึ้นไป  วิธีกลที่ควรดําเนินการ

                  ไดแก การทําคันดิน  ทางระบายน้ํา บอดักตะกอน หรือบอน้ําประจําไรนา  เพื่อชวยชะลอการไหลบาของน้ํา

                  ผิวดินและเก็บกักน้ําสวนเกินไวใชในฤดูแลงและระยะฝนทิ้งชวง สวนวิธีการทางพืช ไดแก การปลูกพืชตาม

                  แนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ ปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับแถวพืชหลักตามแนวระดับ ปลูกพืชคลุมดิน
                  ในสวนไมผลหรือไมยืนตน รวมทั้งการปลูกพืชหมุนเวียนระหวางพืชตระกูลถั่วกับพืชหลัก ลวนเปนแนวทางที่

                  เหมาะสมในการอนุรักษดินและน้ํา


                          6.2  การพัฒนาแหลงน้ําและการรักษาความชื้นในดิน  บริเวณที่พบกลุมชุดดินที่ 41  ไมมีระบบ
                  ชลประทานเขาถึง จึงจําเปนตองพัฒนาแหลงน้ําหรือจัดระบบเก็บกักน้ําในไรนา เชน ขุดสระน้ําหรือขุดลอก

                  แหลงน้ําที่ตื้นเขิน นอกจากการพัฒนาแหลงน้ําแลว ในระหวางการปลูกพืชควรใชวัสดุคลุมดิน เชน เศษซาก

                  พืชคลุมระหวางแถวพืช สําหรับไมผลควรปลูกพืชคลุมดินระหวางแถวดวย ทั้งนี้เพื่อชวยรักษาความชื้นใน

                  ดินไวใหพืชใชอยางเต็มที่

                          6.3 การปรับปรุงความอุดมสมบูรณของดิน  ซึ่งทําไดหลายวิธีดังนี้

                         6.3.1  ปลูกพืชบํารุงดิน ไดแก การปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียนกับการพืชหลัก  ปลูกพืชตระกูลถั่ว

                  แซมระหวางแถวพืชหลัก หรือปลูกพืชปุยสดแลวไถกลบลงไปในดิน

                         6.3.2  ใสปุยอินทรีย  ไดแก ปุยคอกหรือปุยหมัก เมื่อปุยอินทรียสลายตัวในดิน จะปลดปลอยธาตุ
                  อาหารหลัก ธาตุอาหารรองและจุลธาตุใหแกพืชอยางชาๆ และอินทรียวัตถุในดินที่เพิ่มขึ้นยังชวยปรับปรุง

                  สมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดินดวย ดินจึงอุมน้ําและดูดซับธาตุอาหารไวใหพืชใชไดมากขึ้น

                         6.3.3 ใสปุยเคมี เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณปานกลาง และมีธาตุอาหารบางธาตุอยูในเกณฑ

                  ต่ํา จึงตองใสปุยเคมีรวมกับปุยอินทรีย เพื่อเสริมธาตุที่ขาดแคลนใหเพียงพอตอความตองการของพืช

                  7. ขอเสนอแนะ

                         กลุมชุดดินที่ 41  มีความเหมาะสมในการปลูกไมยืนตนบางชนิด เชน ยูคาลิปตัส ไผตง มะมวง-

                  หิมพานต  และพัฒนาเปนทุงหญาเลี้ยงสัตว สวนพืชไรและพืชผักนั้นคอนขางไมเหมาะสม  แตถาจะใช

                  เพาะปลูกพืชเหลานั้น ตองมีการปรับปรุงทั้งดานกายภาพและความอุดมสมบูรณของดิน  สําหรับพืชที่

                  แนะนําใหปลูก ไดแก มันสําปะหลัง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ออย ละหุง งา ปอแกว  ฝาย และแตงโม แตการใช

                  ประโยชนที่เหมาะสมควรเปนแบบผสมผสาน เชน ปลูกไมยืนตนหรือไมผล-พืชไร-หญาเลี้ยงสัตว หรือไมผล-
   379   380   381   382   383   384   385   386   387   388   389