Page 375 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 375

361



                                                   การจัดการกลุมชุดดินที่ 41

                         การจัดการทรัพยากรดินในกลุมชุดดินที่ 41 อยางมีประสิทธิภาพ จําเปนตองทราบขอมูลที่ถูกตอง

                  ใน 3 เรื่อง คือ 1) สภาพแวดลอมเกี่ยวกับกลุมชุดดินนี้ 2) สมบัติที่สําคัญของดิน และ 3) วิธีการจัดการดิน

                  อยางเหมาะสม รายงานนี้จึงกลาวถึงสภาพภูมิอากาศในภาคตางๆ ที่พบกลุมชุดดิน วัตถุตนกําเนิดดิน ภูมิสัณฐาน

                  สภาพพื้นที่ ความลาดชันและการชะลางพังทลายของหนาดิน การระบายน้ํา พืชพรรณและการใชประโยชน
                  เพื่อการเพาะปลูก ชื่อชุดดินในกลุมและการจําแนกระดับวงศตามระบบอนุกรมวิธานดิน การแพรกระจาย

                  ของกลุมชุดดินในภาคและจังหวัดตางๆ ลักษณะของกลุมชุดดินและชุดดิน ระดับความอุดมสมบูรณ ชั้น

                  ความเหมาะสมสําหรับพืชตางๆ โดยพิจารณาจากปญหาและขอจํากัดในการปลูกพืช การจัดการแกปญหา

                  เพื่อใหเหมาะสมกับพืชแตละประเภท ในการบํารุงดินไดเนนการใชปุยอินทรียชนิดตางๆ เพื่อเพิ่มพูนความ
                  อุดมสมบูรณของดิน เสริมสรางสมบัติที่ดีของดินดานกายภาพ เคมีและชีวภาพ รวมทั้งการใชปุยเคมีรวมกับ

                  ปุยอินทรียตามความจําเปน สําหรับพืชไรและพืชสวนแตละชนิด  ทั้งนี้เพื่อใหเกษตรกรสามารถพัฒนาพื้นที่

                  เพาะปลูกใหมีผลิตภาพสูง และเปนระบบการเกษตรยั่งยืนตลอดไป


                  1. สภาพแวดลอมและขอมูลทั่วไป

                          1.1 สภาพภูมิอากาศ

                       สภาพภูมิอากาศ ไดแก ปริมาณน้ําฝน การระเหยน้ํา อุณหภูมิเฉลี่ยและความชื้นสัมพัทธของจังหวัด

                  ตางๆ ที่พบกลุมชุดดินที่ 41 แสดงไวในตารางที่ 41.1

                  ตารางที่ 41.1 สภาพภูมิอากาศ และปริมาณน้ําฝนรายปของจังหวัดตางๆ ที่พบกลุมดินที่ 41


                                                                               อุณหภูมิเฉลี่ย/ป  ความชื้นสัมพัทธ
                                                    ปริมาณน้ําฝน  การระเหยน้ํา
                          ภาค        จังหวัด                                   (องศาเซลเซียส)   เฉลี่ย/ป (%)
                                                       (มม./ป)    (มม./ป)
                                                                                ชวง   เฉลี่ย   ชวง   เฉลี่ย

                   ตะวันออก          ฉะเชิงเทรา      1,600-1,900  1,690-1,700  25-33    28    63-89    76
                                     ชลบุรี          1,200-1,600  1,690-1,700  25-32    28    49-70    60

                                     ตราด            1,800-4,000  1,640-1,660  23-32    27    62-92    80
                   ตะวันออกเฉียงเหนือ  ชัยภูมิ       1,100-1,200  1,640-1,690  23-33    27    50-86    70

                                     นครราชสีมา      1,000-1,200  1,690-1,700  22-33    27    51-89    72
                                     บุรีรัมย       1,100-1,300  1,695-1,700  22-33    27    53-91    74

                                     สุรินทร        1,300-1,400  1,695-1,700  23-33    27    54-89    73
                                     นครพนม          1,500-2,000  1,600-1,620  22-32    26    56-91    76
                                     มุกดาหาร        1,400-1,500  1,620-1,630  22-32    26    54-89    73

                                     ยโสธร           1,300-1,500  1,640-1,660  23-33    27    55-90    74
                                     รอยเอ็ด        1,300-1,400  1,640-1,670  22-32    27    52-87    71

                                     ศรีสะเกษ        1,000-1,400  1,570-1,620  21-32    26    51-91    74
   370   371   372   373   374   375   376   377   378   379   380