Page 267 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 267

253



                          5.4 ขาดแคลนน้ํา  เปนอุปสรรคสําหรับการพัฒนาระบบการเกษตรแบบประณีต ซึ่งเปนการผลิตพืช

                  ที่หลากหลาย ดวยการดูแลใกลชิด แตเปนระบบที่ใหผลผลิตสูง จึงจําเปนตองพัฒนาแหลงน้ําใหเพียงพอ
                  สําหรับการปลูกพืชแบบประณีต


                  6. การจัดการเพื่อใหเหมาะสมในการปลูกพืช

                         การพิจารณาเลือกพืชที่จะนําพืชมาปลูก จะตองพิจารณาถึงขอจํากัดตางๆ  ของกลุมดิน และเลือก

                  ระบบการใชที่ดินใหสอดคลองกับศักยภาพของดิน ดังนี้


                          6.1  การอนุรักษดินและน้ํา   กลุมดินชุดนี้มีการชะลางพังทลายสูง เนื่องจากเนื้อดินคอนขางเปน
                  ทรายและมีความลาดชันสูง ดังนั้นในพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทนอยกวา 12 เปอรเซ็นต ควรอนุรักษดินและน้ํา

                  ดวยมาตรการทางพืช ดังนี้ 1) ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อปองกันมิใหเม็ดฝนกระแทกผิวดินโดยตรง และ 2) ปลูก

                  พืชเปนแถวขวางความลาดเท  ปลูกพืชเปนแถบตามแนวระดับ  ปลูกหญาแฝกตามแนวระดับหรือปลูกพืช

                  ตระกูลถั่วสลับกับแถบของพืชหลัก เพื่อขวางทิศทางการไหลบาของกระแสน้ํา

                         สวนบริเวณที่มีความลาดชันมากกวา 12 เปอรเซ็นต ก็ใชวิธีการทางพืชเชนเดียวกัน แตตองทํามาก
                  และทั่วทั้งพื้นที่ เนื่องจากมีความเสี่ยงตอการชะลางพังทลายสูงมาก สวนวิธีกล เชน การทําคันดิน ขั้นบันได

                  ดิน รองระบายน้ํา  ซึ่งใชไดผลดีกับพื้นที่ซึ่งเปนดินเนื้อละเอียดนั้น ใชไมไดผลในพื้นที่ซึ่งเปนดินเนื้อหยาบ

                  และการเปดหนาดินยังเสี่ยงตอการชะลางพังทลายไดมากดวย

                          6.2 การเพิ่มความอุดมสมบูรณของดิน  เนื่องจากกลุมดินชุดนี้มีความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติ

                  ต่ํา  จึงควรใชทั้งปุยอินทรียและปุยเคมีตามความเหมาะสม สําหรับปุยอินทรียควรใสปุยหมักหรือปุยคอก

                  อัตรา 1-3  ตัน/ไร  หรือปลูกพืชตระกูลถั่วเปนปุยพืชสด ปุยอินทรียนั้นนอกจากจะปลดปลอยธาตุหลัก ธาตุ

                  รองและจุลธาตุใหแกพืชอยางชาๆ แลว ยังชวยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดินดีใหดี
                  ขึ้นดวย อยางไรก็ตามหากพบวาดินยังขาดแคลนธาตุใดธาตุหนึ่งอยูอีก ก็เสริมดวยการใชปุยเคมีตามความ

                  จําเปน


                          6.3 การจัดระบบการปลูกพืช  ไดแก 1) การปลูกพืชหมุนเวียน โดยแบงพื้นที่เปนหลายแปลง แลว

                  ปลูกพืชหลักสลับกับพืชตระกูลถั่ว ดังนั้นแตละแปลงจะมีโอกาสปลูกพืชตระกูลถั่วในชวงเวลาที่กําหนด และ
                  2) ใชระบบการปลูกพืชแบบอื่นๆ เชน ปลูกพืชตระกูลถั่วเปนแถวสลับกับพืชหลักในพื้นที่เดียวกัน ในเวลา

                  เดียวกันหรือเหลื่อมเวลา สําหรับในแปลงพืชยืนตน อาจปลูกพืชตระกูลถั่วเปนพืชคลุมดินระหวางแถว

                  นอกจากนั้นอาจปลูกพืชตระกูลถั่วแลวไถกลบเปนปุยพืชสดกอนการปลูกพืชหลัก

                          6.4 การเลือกชนิดของพืชใหเหมาะสม  เนื่องจากพื้นที่เปนที่ดอน มีสภาพเปนลูกคลื่นลอนลาดถึง

                  ภูเขา  ดินมีการระบายน้ําดี และอยูในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก ดินมีศักยภาพที่จะใชปลูกยางพารา  ปาลมน้ํามัน

                  กาแฟและไมผลได
   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271   272