Page 216 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 216

202



                                w  =  พื้นที่ไมเหมาะสมตอการใชเครื่องจักรกล

                                e  =  พื้นที่งายตอการชะลาง


                  5. ปญหาและขอจํากัดในการปลูกพืช

                          5.1 ความอุดมสมบูรณของดิน  เนื่องจากดินกลุมนี้มีความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติอยูในระดับ

                  ปานกลาง และใชประโยชนในการเพาะปลูกอยางตอเนื่อง รวมทั้งมีการชะลางพังทลายของดิน อยูเสมอ จึง

                  สูญเสียหนาดินอยางตอเนื่อง ทําใหความอุดมสมบูรณของดินลดลงอยางมาก

                          5.2 ขาดแคลนน้ํา  กลุมชุดดินนี้พบบริเวณที่สูง ดินเก็บกักน้ําไดนอย น้ําฝนจะไหลบาลงสูพื้นที่ตอนลาง

                  อยางรวดเร็ว ถึงแมเนื้อดินจะเปนดินเหนียว แตเมื่อฝนทิ้งชวงดินจะแหงเร็วมาก การพัฒนาแหลงน้ําในพื้นที่

                  มีขอจํากัด ดังนั้นการเพาะปลูกจึงอาศัยน้ําฝนเปนหลัก

                          5.3  การชะลางพังทลายของหนาดิน  กลุมชุดดินที่ 31  พบในพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทตั้งแต 2-20

                  เปอรเซ็นต ถาปลูกพืชในบริเวณที่มีความลาดเทตั้งแต 5 เปอรเซ็นต ขึ้นไป และเกษตรกรไมมีการอนุรักษดิน

                  และน้ําอยางเหมาะสม จะเกิดการชะลางพังทลายของดินในระดับปานกลางถึงรุนแรง

                  6. การจัดการเพื่อใหเหมาะสมในการปลูกพืช


                          6.1 การปลูกพืชหมุนเวียน  ดวยระบบที่มีพืชตระกูลถั่วสลับกับพืชหลัก การปลูกพืชหมุนเวียนที่มี
                  พืชตระกูลถั่วแทรกอยู เชน ถั่วเหลือง-ขาวโพด หรือ  พืชผัก-ถั่วตางๆ เปนตน  พืชตระกูลถั่วจะชวยเพิ่มธาตุ

                  ไนโตรเจนใหแกดิน เนื่องจากเชื้อไรโซเบียมในปมรากถั่วสามารถตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศได เมื่อไถ

                  กลบซากถั่วลงในดินหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต จะชวยเพิ่มธาตุไนโตรเจนและหมุนเวียนธาตุอาหารอื่นๆ สูดิน

                  การพรวนกลบซากพืชยังชวยทําใหดินรวนซุย การระบายน้ําและการถายเทอากาศดีขึ้น

                          6.2 การปลูกพืชปุยสด  เปนอีกวิธีการหนึ่งที่ชวยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและความอุดมสมบูรณของ

                  ดิน พืชปุยสดที่แนะนํา ไดแก ปอเทือง โสน โสนอัฟริกันและถั่วตางๆ โดยปลูกพืชปุยสดเหลานี้กอนการปลูก

                  พืชหลัก 2-3 เดือน แลวไถกลบลงไปในดินเมื่อพืชปุยสดออกดอก วิธีการนี้จะชวยใหผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้น

                  และยังชวยรักษาความอุดมสมบูรณของดินอีกดวย

                          6.3 การใชปุย  เพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณของดินและการเพิ่มผลผลิตของพืชที่ปลูก สําหรับ

                  กลุมชุดดินที่ 31 นั้นจําเปนตองใชทั้งปุยอินทรียและปุยเคมี  เนื่องจากลักษณะเนื้อดินเปนดินเหนียว และ

                  ความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติปานกลาง ปุยอินทรีย เชน ปุยหมัก ปุยคอก และปุยพืชสดจะชวยปรับปรุง
                  คุณสมบัติทางดานกายภาพใหดีขึ้น โดยใชปุยหมักหรือปุยคอกอัตรา 1.5-2.0 ตัน/ไร สวนปุยเคมีนั้นจะชวย

                  เพิ่มธาตุอาหารพืชหลัก  ธาตุรองและจุลธาตุที่ดินขาดแคลน จึงควรใชตามความจําเปน สําหรับอัตราและ

                  สูตรปุยที่ใชนั้น ขึ้นอยูกับชนิดของดินและพืชที่ปลูก ซึ่งจะไดกลาวไวในหัวขอที่ 9
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221