Page 138 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 138

124



                  ไมเหมาะสมในการทํานา เนื่องจากอยูในที่ดอน สภาพพื้นที่เปนลูกคลื่นลอนลาดเล็กนอยถึงลูกคลื่นลอนชัน

                  ดินมีการระบายน้ําดี ระดับน้ําใตดินอยูลึก

                          6.2  การจัดการเพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน  การทําใหดินรวนซุยเหมาะสมตอการ

                  ปลูกพืชไรและพืชผัก มี 3 วิธี คือ 1) ใชปุยอินทรีย เชน ปุยคอกและปุยหมัก เปนตน ใชอัตรา 1.5-2.0 ตน/ไร

                  โดยหวานแลวพรวนกลบ หรือ 2) ปลูกพืชตระกูลถั่ว เชน  ปอเทืองหรือโสนอัฟริกันแลวไถกลบเมื่อออกดอก

                  เปนปุยพืชสด และ 3) ใสวัสดุปรับปรุงดิน เชน กากถั่วลิสง ขี้เลื่อย แกลบ และเศษพืช เปนตน ไถแลวกลบลง
                  ไปในดิน


                          6.3  การปรับปรุงความอุดมสมบูรณของดิน  เนื่องจากกลุมชุดดินที่ 26  มีความอุดมสมบูรณ

                  คอนขางต่ํา เมื่อใชปลูกพืชติดตอกันหลายๆ ป ยอมทําใหความอุดมสมบูรณของดินลดลง จําเปนตองมีการ

                  บํารุงดิน ซึ่งสามารถดําเนินการไดหลายวิธีดังนี้
                         6.3.1  การจัดระบบการปลูกหมุนเวียนที่มีพืชตระกูลถั่วสลับอยูในระบบการผลิตพืชหลัก  การปลูก

                  พืชหมุนเวียนที่มีพืชตระกูลถั่วแทรกอยู เชน ถั่วเหลือง-ขาวโพด หรือ พืชผัก-ถั่วตางๆ เปนตน พืชตระกูลถั่ว

                  จะชวยเพิ่มธาตุไนโตรเจนใหแกดิน เนื่องจากเชื้อไรโซเบียมในปมรากถั่วสามารถตรึงธาตุไนโตรเจนจาก
                  อากาศได เมื่อไถกลบซากถั่วลงในดินหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต จะชวยเพิ่มแรธาตุไนโตรเจนและหมุนเวียน

                  ธาตุอาหารอื่นๆ สูดิน การพรวนกลับซากพืชยังชวยทําใหสภาพของดินรวนซุย การระบายน้ํา และการถายเท

                  อากาศดีขึ้น

                         6.3.2 การปลูกพืชปุยสดแลวไถกลบลงในดิน เปนอีกวิธีการหนึ่งที่ชวยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ

                  และความอุดมสมบูรณของดิน พืชปุยสดที่แนะนํา ไดแก ปอเทือง โสน โสนอัฟริกันและถั่วตางๆ โดยปลูกพืช
                  ปุยสดเหลานี้กอนการปลูกขาว 2-3 เดือน  แลวไถกลบลงไปในดินเมื่อพืชปุยสดออกดอก  วิธีการนี้จะชวย

                  ปรับปรุงบํารุงดินอยางหนึ่งที่ชวยทําใหผลผลิตของขาวเพิ่มขึ้น และยังชวยรักษาความอุดมสมบูรณของดิน

                  อีกดวย

                         6.3.3  กรณีที่คาความเปนกรดของดินต่ํากวา 5.0 ลงไป บางชนิดพืชอาจจําเปนตองใสปูนเพื่อ

                  ยกระดับพีเอชขึ้นมาใกลเปนกลาง อัตราที่ใชจะอยูระหวาง 100-500 กก./ไร หรือขึ้นกับความตองการปูน
                  ของดิน

                         6.3.4  การใชปุยเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณของดิน และการเพิ่มผลผลิตของพืชที่ปลูก สําหรับ

                  กลุมชุดดินที่ 2 นั้นจําเปนตองใชทั้งปุยอินทรียและปุยเคมี  เนื่องจากลักษณะเนื้อดินเปนดินเหนียว และ

                  ความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติปานกลาง  ปุยอินทรีย เชน ปุยหมักหรือปุยคอกเพื่อชวยปรับปรุงสมบัติ
                  ทางดานกายภาพใหดีขึ้น โดยใชอัตรา 1.5-2.0  ตัน/ไร สวนปุยเคมีนั้นจะชวยเพิ่มธาตุอาหารหลัก  ธาตุรอง

                  และจุลธาตุใหแกดิน สําหรับอัตรา และสูตรปุยที่ใชนั้นขึ้นอยูกับชนิดของดินและพืชที่ปลูก ซึ่งไดกลาวไวใน

                  หัวขอที่ 9
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143