Page 73 - ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
P. 73

ความลึกของดินแบงออกเปน 5 ชั้นดังนี้

                                       ความลึก (ซม.)                          ความหมาย
                                        0-25                                ตื้นมาก

                                        25-50                               ตื้น

                                        50-100                              ลึกปานกลาง

                                        100-150                             ลึก

                                        ลึกกวา  150                        ลึกมาก

                         ความหมายของความลึกของดินในที่นี้อาจแตกตางจากความหมายในสวนที่เกี่ยวกับการจําแนก

                  ดินบาง โดยเฉพาะดินที่มีชั้นเศษหิน กรวด ลูกรัง และสารมวลพอกตางๆ ที่มีขนาด 2  มิลลิเมตร หรือโต

                  กวาในปริมาณมากกวา 35 เปอรเซ็นตโดยปริมาตร โดยการจําแนกดินจะไมนําชั้นนี้มาพิจารณา และถือ
                  วาเปนดินลึกมาก เนื่องจากกระบวนการเกิดดินยังคงดําเนินตอเนื่องไปจนถึงชั้นดินตอนลาง



                  6. การประเมินระดับความอุดมสมบูรณของดิน

                         กรมพัฒนาที่ดินไดแบงระดับความอุดมสมบูรณของดิน ออกเปน 3  ระดับ คือ ต่ํา ปานกลาง

                  และสูง  ซึ่งจะใชวิธีประเมินจากคาวิเคราะหสมบัติทางเคมีของดิน 5 ประการไดแก อินทรียวัตถุ ความจุ
                  การแลกเปลี่ยนแคตไอออน ความอิ่มตัวเบส ฟอสฟอรัสที่เปนประโยชน และโพแทสเซียมที่เปนประโยชน

                  ซึ่งการวิเคราะหดินจะใชวิธีที่เปนมาตรฐานตาม Soil Survey Laboratory Method Manual (USDA,

                  NRCS, 1996) ซึ่งอธิบายโดยยอดังนี้

                         1. คาอินทรียวัตถุ (Organic Matter หรือ OM) มีหนวยเปนเปอรเซ็นต คํานวณไดจากคาอินทรีย

                  คารบอนโดยคูณดวยคา 1.724  สําหรับการวิเคราะหหาคาอินทรียคารบอนใชวิธีของ Walkley  และ
                  Black Titration

                         2. คาความจุแลกเปลี่ยนแคตไออน (Cation Exchange Capacity หรือ CEC) มีหนวยเปนเซน

                  ติโมลตอกิโลกรัม (cmol/kg) การวิเคราะหหาคา CEC จะใชน้ํายาสกัดแอมโมเนียมอะซิเตตที่เปนกลาง

                  (NH OAc pH 7.0)
                      4
                         3.  คาความอิ่มตัวเบส (Base  Saturation  หรือ BS)  มีหนวยเปนเปอรเซ็นต คํานวณไดจาก

                  ปริมาณของเบสพวก แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และโซเดียม ซึ่งวิเคราะหดินโดยใชน้ํายาสกัด

                  แอมโมเนียมอะซิเตตที่เปนกลาง (NH OAc pH 7.0)
                                                  4
                         4.  คาฟอสฟอรัสที่เปนประโยชน (Available  phosphorus)  มีหนวยเปน mg/kg  (หรือ ppm)
                  วิเคราะหโดยใชวิธี Bray II

                         5. คาโพแทสเซียมที่เปนประโยชน (Available potassium) มีหนวยเปน mg/kg (หรือ ppm) ซึ่ง

                  วิเคราะหโดยใชน้ํายาสกัดแอมโมเนียมอะซิเตตที่เปนกลาง (NH OAc pH 7.0)
                                                                        4




                                                                                                       65
   68   69   70   71   72   73   74   75   76