Page 70 - ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
P. 70

1. การจําแนกดิน
                         การจําแนกดินในเอกสารฉบับนี้ หมายถึงการจําแนกดินตามระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy)

                  ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มพัฒนาขึ้นมาในป ค.ศ. 1975 เพื่อใหเปนระบบการจําแนกดินสากล

                  ซึ่งมีการพัฒนาและปรับปรุงอยูตลอดเวลา  จนถึงลาสุดเปนการปรับปรุงครั้งที่ 9  ป  ค.ศ. 2003 (Soil

                  Survey Staff, 2003) กรมพัฒนาที่ดินไดนําระบบนี้มาใชจําแนกดินของประเทศตั้งแตปแรกที่ระบบนี้เริ่ม
                  พัฒนาขึ้น  พรอมทั้งปรับปรุงแกไขระบบการจําแนกดินของประเทศใหสอดคลองกับการพัฒนาของระบบ

                  ตลอดเวลาเชนกัน


                         ระบบอนุกรมวิธานดินมีขั้นการจําแนกดิน 6 ชั้นดังนี้

                         ขั้นสูง (Higher category)  แบงเปน  อันดับ (Order)   ปจจุบันมีทั้งหมด12 อันดับ
                                                        อันดับยอย (Suborder)  ปจจุบันมีทั้งหมด 64 อันดับยอย

                                                        กลุมใหญ (Great Group)

                                                        กลุมยอย (Subgroup)

                         ขั้นต่ํา (Lower category) แบงเปน  วงศ (Family)
                                                        ชุด (Series)

                         ตัวอยางการจําแนก

                               อันดับ        Alfisols

                               อันดับยอย    Ustalfs
                               กลุมใหญ     Haplustalfs

                               กลุมยอย     Typic  Haplustalfs

                               วงศ          Fine, mixed, active, isohyperthermic Typic Haplustalfs

                               ชุด           Wang Saphung series (ชุดดินวังสะพุง)


                  2. การจัดเรียงชั้นดิน

                         การจัดเรียงชั้นดินเปนการแสดงชั้นกําเนิดดิน (Genetic horizons) ตางๆ ที่พบในหนาตัดของดิน
                  เรียงลําดับตั้งแตดินบนจนถึงดินลางหรือถึงชั้นหินพื้น  ชุดดินตางๆ  อาจจะมีลักษณะของการจัดเรียงชั้น

                  ดินที่แตกตางหรือเหมือนกันก็ได  แตชุดดินที่มีการจัดเรียงชั้นดินเหมือนกันจะมีลักษณะและสมบัติอื่นๆ

                  บางประการที่แตกตางกัน  สัญลักษณของชื่อชั้นดินตางๆ  ที่แสดงไวอาศัยบรรทัดฐานของการใหชื่อตาม

                  ระบบของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอธิบายไวในบทที่ 18 (Designations for Horizons and
                  Layers) ของ Keys to Soil Taxonomy 9th edition (Soil Survey Staff, 2003)

                         สําหรับชั้นดินตางๆ  ที่ใหสัญลักษณนั้นจะมีการกําหนดลักษณะและสมบัติเฉพาะไว  ที่คาดวามี

                  ความสัมพันธกับการกําเนิด ซึ่งเรียกวาชั้นกําเนิดดิน (genetic horizons)





                                                                                                       62
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75